ปัญหาลูกไม่ยอมกินอาหารเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านต้องเจอ จนทำให้เป็นกังวลว่า ลูกจะขาดสารอาหาร ร่างกายจะไม่แข็งแรง กลัวลูกผอม ไม่เจริญเติบโต แต่ในความเป็นจริง การที่ลูกไม่ยอมกินอาหาร หรือกินได้น้อยลงเป็นเรื่องที่พบได้ในเด็กปกติ และไม่ใช่เรื่องแปลก เหมือนกับบางทีที่ผู้ใหญ่ อาจจะมีอาการไม่อยากกินอะไรโดยหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน แต่สิ่งที่ควรสังเกต คือ การที่ลูกกินอาหารน้อยลงเป็นเวลาหลายวัน หรือ มีน้ำหนักตัวลดลงเกิน 5 % ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล และควรมาปรึกษาแพทย์
การที่ลูกไม่ยอมกินอาหาร หรือ กินได้น้อยลง อาจเกิดได้หลายสาเหตุทั้งทางกายและจิตใจ แต่ในบางครั้งลูกอาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าไม่อยากกินเพราะอะไร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบ
6 วิธีสังเกตลูกไม่ยอมกินอาหาร
- ลูกไม่ยอมกินอาหารเพียงบางชนิด อาการนี้อาจบอกถึงอาการแพ้อาหาร หรือ โรคความผิดปกติทางการกิน ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวช
- ลูกไม่ยอมกินเฉพาะที่บ้าน หรือ ที่โรงเรียน อาการนี้อาจบอกถึงปัญหาทางสภาพแวดล้อมที่บ้าน หรือ ที่โรงเรียน
- ลูกมีพูดถึงความกลัวอ้วน หรือ เปรียบเทียบรูปร่างตัวเองกับคนอื่น อาการนี้อาจบ่งบอกโรคความผิดปกติทางการกิน
- ลูกมีบุคลิกเปลี่ยนไป ดูซึมลง อาการนี้อาจบ่งบอกโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรืออาจมีเรื่องมากระทบจิตใจ
- ลูกมีอาการทางกาย เช่น แผลในปาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย อาการนี้อาจบ่งบอกโรคทางระบบทางเดินอาหาร หรือ โรคทางกายอื่น ๆ
- ลูกกินยาบางชนิด ที่อาจส่งผลข้างเคียงให้มีอาการเบื่ออาหารได้
อย่างไรก็ตาม หากลูกไม่ยอมกินอาหารเลยเกิน 48 ชั่วโมง หรือ ไม่ยอมดื่มน้ำเลย เกิน 24 ชั่วโมง ควรรีบพาลูกไปห้องฉุกเฉินทันทีเพื่อประเมินอาการอย่างเร่งด่วน
นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH