จิตเภท

Share

โรคจิตเภท (Schizophrenia) คืออะไร? เข้าใจและรับมือให้เหมาะสม

โรคจิตเภท หรือที่คนทั่วไปเรียกขานสั้น ๆ ว่าโรคจิต (Schizophrenia) เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางจิต (Psychotic Disorder) ที่รุนแรงและเรื้อรัง มีผลให้ความคิด การรับรู้ และพฤติกรรมผิดแปลกไป มักมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด และมีความผิดปกติของกระบวนการวิธีคิด ทำให้ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำสิ่งต่าง ๆ ผิดปกติไป

อาการของโรคจิตเภท

อาการของโรคจิตเภทจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยอาการจะมีได้หลากหลายรูปแบบและหลายระดับ สามารถแยกได้ออกเป็น 3 อาการหลัก ๆ ดังนี้

1. อาการด้านบวก (Positive Symptoms)

เป็นอาการของโรคจิตเภทที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม และความคิดที่ผิดปกติมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ได้แก่

verify orange

อาการหลงผิด (Delusion) อาการที่มีความคิด ความเชื่อ ไม่ตรงกับความเป็นจริงและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อเหล่านั้นได้ เช่น เชื่อว่าจะมีคนมาทำร้าย หลงผิดว่าตัวเองมีพลังพิเศษ เป็นต้น

verify orange

อาการหลอนประสาทชัดเจน (Prominent Hallucination) อาการที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอกเป็นตัวกระตุ้น เช่น หูแว่วได้ยินเสียงคนพูดคุย เห็นภาพคน สัตว์ สิ่งของทั้งที่ไม่มีอยู่จริง เป็นต้น

verify orange

อาการพูดไม่เป็นแบบแผน (Disorganized Speech) อาการพูดในลักษณะหัวข้อวลี หรือประโยคที่ไม่สัมพันธ์กัน

verify orange

อาการพฤติกรรมไม่เป็นแบบแผน (Disorganized Behavior) อาการพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติของคนในสังคม เช่น ไม่ใส่เสื้อผ้า การเล่นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

verify orange

อาการพฤติกรรมเคลื่อนไหวผิดแปลกไปจากปกติ (Catatonic Behavior) เช่น การเคลื่อนไหวมากเกินไป น้อยเกินไป หรือนิ่งแข็งอยู่กับที่ เป็นต้น

2. อาการด้านลบ (Negative Symptoms)

เป็นอาการผิดปกติของโรคจิตเภทที่แสดงออกมาขาด หรือบกพร่องจากสิ่งที่คนทั่วไปควรมีไม่ว่าจะเป็นอาการเก็บตัว เฉยเมยต่อสิ่งรอบข้าง ความคิดอ่านและการพูดลดลง การขาดความสนใจในการเข้าสังคม หรือกิจกรรมที่เคยทำ เริ่มไม่ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว ไปจนถึงอาการแสดงอารมณ์ทื่อ (Blunted Affect) ต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม

3. อาการด้านการรู้คิด (Cognitive Symptoms)

เป็นอาการผิดปกติของโรคจิตเภทที่แสดงออกมาทางการรู้คิด ซึ่งจะลดทอนความสามารถด้านความจำ ทักษะ การใช้ชีวิต เช่น ความสามารถในการจัดการ การตัดสินใจ การวางแผนลดลง ความใส่ใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งลดลง ไปจนถึงความสามารถในการจดจำบกพร่อง จำข้อมูลเฉพาะหน้าได้ลดลง เป็นต้น

อาการโรคจิตเภทที่พบได้บ่อย

verify orange

อาการประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน ได้กลิ่น หรือรับรสที่ไม่มีอยู่จริง

verify orange

หลงผิด เชื่อในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

verify orange

มีกระบวนการคิดที่ผิดปกติ

verify orange

มีพฤติกรรมแปลก หรือมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ

verify orange

พูดจาสับสน วกวน อันเป็นผลมาจากอาการประสาทหลอนหรืออาการหลงผิด

verify orange

ความสนใจหรือความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตลดลง

verify orange

เสียความสามารถในการดูแลสุขลักษณะของตัวเอง

verify orange

หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม

verify orange

มีปัญหาด้านความสามารถทางการคิด-การรับรู้-การเข้าใจสิ่งต่าง ๆ

verify orange

ความสามารถในการประมวลผลและการตัดสินใจลดลง

verify orange

สมาธิและความจำแย่ลง

อาการโรคจิตเภทเข้าสู่ “ภาวะฉุกเฉิน” เป็นอย่างไร?

อาการที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยกำลังเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินจากการป่วยโรคจิตเภท คืออาการที่มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือความคิดฆ่าตัวตาย เมื่อครอบครัวหรือคนใกล้ชิดเริ่มสังเกตเห็นอาการดังกล่าว ให้รีบพาผู้ป่วยไปเข้ารับการดูแลอย่างเร่งด่วน

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเข้าข่ายโรคจิตเภทเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากธรรมชาติของผู้ป่วยโรคดังกล่าว จะเริ่มค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการรู้สึกตัวได้ว่ามีความผิดปกติ จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตัวเอง ต้องให้ครอบครัวและผู้ใกล้ชิดคอยสังเกต เพื่อพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดและรักษา

การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคทางกาย/ โรคทางระบบประสาท หรือการใช้ยา/สารบางชนิดอาจเป็นสาเหตุของอาการคล้ายโรคจิตเภทได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการตามความเหมาะสมเพื่อวินิจฉัยแยกโรคก่อนเสมอ นอกจากนี้อาจมีการประเมินด้วยแบบทดสอบที่จำเพาะเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

การรักษา

โรคจิตเภทจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรค โดยการรักษาที่ใช้จะมีทั้งการใช้ยา การทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด และการบำบัดร่วมทั้งครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติที่สุด บางกรณีอาจมีการรักษาด้วยไฟฟ้า หรือจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลตามอาการและข้อบ่งชี้

เข้ารับการรักษาโรคจิตเภท โดยทีมแพทย์เฉพาะทางและบุคลากรที่มีความมืออาชีพที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์

หากท่านกำลังมองหาโรงพยาบาลจิตเวชที่มีจิตแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทาง โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ พร้อมให้การดูแลอย่างใส่ใจเพราะเราเป็นโรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี ที่มีคลินิกเฉพาะทางช่วยดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทอย่างใกล้ชิด พร้อมดูแลทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ภายใต้การบำบัดและรักษาโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากประสบการณ์ ครบครันด้านเครื่องมือและกิจกรรมบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ นัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-589-1889 เวลา 8.00-20.00 น.