การรักษาโรคจิตเภทเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความอดทนและความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมแพทย์ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาโรคจิตเภทจะเน้นไปที่การควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้อาการกำเริบกลับมาอีก
ซึ่งมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ทั้งการใช้ยาจำพวกยาต้านจิตเภท (Antipsychotics) เพื่อช่วยลดอาการหลงผิด ประสาทหลอน และความคิดวกวน และยาร่วมอื่น ๆ เช่น ยากล่อมประสาท ยาต้านซึมเศร้า หรือยาเสริมสร้างความจำ เพื่อควบคุมอาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังมีการบำบัด เช่น การบำบัดด้วยกลุ่ม การบำบัดครอบครัว และการฝึกทักษะทางสังคม ช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีขึ้น
รวมถึงการทำกิจกรรมบำบัด เช่น การทำสมาธิ โยคะ ช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและมีสมาธิมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการรักษาโรคจิตเภทด้วยยามักมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่อาจก่อให้เกิดความกังวลใจได้ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้น่ากลัวเสมอไป และสามารถจัดการได้ โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่
- อาการง่วงนอน: เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในช่วงแรกของการใช้ยา
- น้ำหนักเพิ่ม: ยาบางชนิดอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
- ปากแห้ง: อาการนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำบ่อยๆ
- เวียนหัว: อาจเกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว
- ท้องผูก: การดื่มน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงสามารถช่วยลดอาการได้
- ความผิดปกติทางเพศ: อาจมีปัญหาเรื่องความต้องการทางเพศ หรือการแข็งตัว
- อาการสั่น: กล้ามเนื้ออาจมีอาการสั่นเล็กน้อย
ผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่พบได้น้อย ได้แก่
- อาการทางระบบประสาท: เช่น กล้ามเนื้อเกร็ง อาการสั่นรุนแรง อาการกระสับกระส่าย
- อาการทางหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
- ภาวะเมตาบอลิก: เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยพบว่ามีอาการข้างเคียงจากการใช้ยารักษา ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด แต่ให้รีบแจ้งจิตแพทย์ที่ดูแลรักษา เพื่อได้รับคำแนะนำหรือจิตแพทย์อาจประเมินพิจารณาเปลี่ยนยาในภายหลัง
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก
สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก
การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ
5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)
ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH