คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเนื้อหาในโซเชียลมีเดียมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะใครที่เสพสื่อในด้านลบมาก ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ โรงพยาบาล BMHH ขอชวนทุกคนมาทำ Social Detox เพื่อล้างพิษจากการใช้โซเชียลมีเดียไปด้วยกัน โดยวิธีดังนี้
- กำหนดเวลาใช้งาน ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้งานโซเชียลมีเดีย และพยายามปฏิบัติตามตารางเวลานั้น
- ปิดการแจ้งเตือน ปิดการแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อลดการอยากหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู
- สร้างพื้นที่ปลอดโซเชียล กำหนดพื้นที่บางส่วน เช่น ห้องนอน หรือโต๊ะทำงาน เป็นพื้นที่ห้ามนำโทรศัพท์เข้ามา
- หากิจกรรมอื่นทำ หากิจกรรมที่สนใจทำแทน เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อนฝูง หรือทำอาหาร
ทำ Social Detox แบบเต็มรูปแบบ ลองหยุดใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมดเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงวันหยุด หรือช่วงเวลาที่ต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่
การทำ Social Detox ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอนในคราวเดียวกัน แต่ให้เริ่มทีละเล็กทีละน้อย และค่อย ๆ เพิ่มขั้นตอนให้ตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดความเครียด ยังช่วยเพิ่มสมาธิในการทำงานและเรียนรู้มากขึ้น รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ ที่สำคัญคือช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับคนรอบข้างอีกด้วย
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH