พฤติกรรมเกเรก้าวร้าวในเด็กเป็นปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนกังวลใจ เพราะหากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ อาจสร้างปัญหาที่จะกระทบทั้งตัวเด็กเองและคนรอบข้าง
ซึ่งสาเหตุของพฤติกรรมเกเรก้าวร้าวในเด็กสามารถแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ โกหก โต้เถียง ด่าทอ อารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ต่อต้าน ขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจเรียน และอาจหนีเรียนได้
โดยพฤติกรรมเหล่านี้มาจากหลายปัจจัย ได้แก่
- ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม, ปัญหาทางสมอง เช่น โรคสมาธิสั้น หรือโรคอารมณ์สองขั้ว, และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น อาจทำให้เด็กมีอารมณ์แปรปรวน
- ปัจจัยภายนอก เช่น การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง มีตามใจมากเกินไป หรือมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว, สภาพแวดล้อมของเด็ก ที่อาจทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น, และปัญหาทางสังคม การถูกเพื่อนล้อเลียน การถูกกลั่นแกล้ง หรือปัญหาในโรงเรียน อาจทำให้เด็กรู้สึกเครียดและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา
- ปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความเครียดจากการเรียน การสอบ หรือปัญหาในครอบครัว, ความวิตกกังวล เด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง อาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อปกป้องตนเอง
ไม่มีผู้ปกครองหรือพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกมีพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เพราะฉะนั้น สถาบันครอบครัวมีส่วนช่วยในป้องกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้
โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นและเปิดอกกับลูก สื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ ฟังความคิดเห็นของลูก และให้กำลังใจ, มีการกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและสม่ำเสมอในบ้าน และอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผล, เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็นในด้านพฤติกรรม อารมณ์ และการแก้ไขปัญหา, สอนให้ลูกควบคุมอารมณ์ รู้จักแก้ไขปัญหา และแสดงออกซึ่งความรู้สึกในทางที่เหมาะสม, หมั่นชื่นชมเมื่อลูกทำดี และให้กำลังใจเมื่อลูกทำผิดพลาด
สุดท้ายหากพบว่าพฤติกรรมของลูกรุนแรงขึ้น หรือไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหรือนักจิตวิทยาเด็กเพื่อขอคำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก
สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก
การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ
5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)
ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH