
ความเครียดเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยคนส่วนใหญ่มักมีความเครียดสะสมมาจากปัญหาในชีวิตประจำวัน หากความเครียดอยู่ในระดับที่พอดีไม่มากเกินไป จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการใช้ชีวิตที่สามารถส่งเสริมให้ทำภารกิจได้สำเร็จ แต่หากความเครียดอยู่ในระดับที่มากหรือนานเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจมาก จนทำให้บางคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเกิดภาวะความเครียดสะสม
14 สัญญาณเตือนจากร่างกายเมื่อเกิดภาวะความเครียด
- ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อตึง ปวดบริเวณคอหรือหลัง
- ปวดท้อง
- ปากแห้ง
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- นอนหลับยาก หลับไม่สนิท
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร หรือ กินจุในเมนูที่ชอบ
- อ่อนแอลง เป็นหวัดง่ายขึ้น
- ขาดความจดจ่อ สมาธิลดลง
- ความจำแย่ลง สะเพร่า หลงลืม
- กระวนกระวาย
- หงุดหงิดง่าย
- ใจร้อน โกรธง่าย
- วิตกกังวล
ทั้งนี้หากพบว่าตัวเองมีสัญญาณเตือนจากร่างกายที่เข้าข่ายภาวะเครียดสะสม อย่าละเลยควรหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น การนอนพัก การทำงานอดิเรก เล่นกีฬาที่ชอบ พบเพื่อน นวดผ่อนคลาย ฝึกหายใจเข้าออกช้า ๆ รวมไปถึงการพูดคุยกับนักจิตวิทยาได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดความเจ็บป่วยที่มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก 4 ประเภทของไบโพลาร์ พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทางจิตเวชที่ส่ […]

ชนิดของโรคซึมเศร้า รู้เท่าทัน รับมือถูกวิธี
โรคซึมเศร้า อาการป่วยทางใจที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้สึก […]

โรคแพนิคคืออะไร ? มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ปรา […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH