ความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของผู้ป่วยโรคแพนิค คืออยู่ดีๆ อาการก็สามารถกำเริบได้โดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น เพราะฉะนั้นจึงมักมีคำถามว่า ถ้าเป็นโรคนี้ต้องกินยาไปตลอดชีวิตหรือไม่ หากไม่กินยา อาการก็จะสามารถหายไปเองได้ไหม
คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้กินยาเพื่อควบคุมอาการตื่นตระหนกในช่วงแรก ระยะเวลาการกินยาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนอาจต้องกินยาเพียงไม่กี่เดือน บางคนอาจต้องกินยาเป็นปี หรือบางคนอาจต้องกินยาตลอดชีวิต
3 ปัจจัยที่แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาตลอดชีวิต
- ความรุนแรงของอาการ: หากอาการแพนิครุนแรง เกิดขึ้นบ่อย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- ประวัติการรักษา: หากเคยมีประวัติการรักษาแพนิคมาก่อน และอาการกลับมาเป็นซ้ำ
- ความเสี่ยงของการเป็นแพนิคซ้ำ: หากมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการแพนิคซ้ำ เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค หรือมีภาวะเครียดเรื้อรัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การกินยาตลอดชีวิตไม่ได้หมายความว่า จะต้องกินยาในปริมาณเดิมตลอดไป แพทย์อาจปรับลดขนาดยาลง หรือ หยุดยาบางชนิด เมื่ออาการแพนิคดีขึ้น เพราะฉะนั้น จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสามารถควบคุมอาการ และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH