เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Toxic หรือ Toxic People กันมาบ้าง และคงไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนกลุ่มนี้ เพราะคำว่า Toxic ในภาษาอังกฤษหมายถึง พิษ ดังนั้นคนที่เป็น Toxic People จึงมักจะมีความคิดความอ่านที่เป็นพิษต่อผู้อื่น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสร้างปัญหาต่อความสัมพันธ์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน
Toxic People หรือคนท็อกซิกคืออะไร ?
Toxic People คือ ผู้ที่มักแสดงพฤติกรรมเชิงลบกับคนรอบข้าง ทำให้บรรยากาศโดยรอบดูเป็นพิษ ไม่น่าเข้าใกล้ ทำลายความรู้สึกดี ๆ เสี่ยงส่งผลเสียกับคนใกล้ตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่ได้จัดเป็นโรคทางจิตเวช แต่เป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ผลลัพธ์ของการเป็น Toxic People ที่สามารถพบได้บ่อยคือ ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งคนสนิท, ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต, ส่งผลต่อการทำงาน การเรียน และคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ผลกระทบเหล่านี้จะลดลง สิ่งสำคัญคือต้องมีความอดทนและไม่ท้อถอย หรือหากจำเป็น แนะนำว่าให้ขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาหรือนักบำบัดเพื่อรับการแก้ไขอย่างถูกวิธี
นิสัยที่บ่งบอกความเป็นคน Toxic มีอะไรบ้าง ?
อาการที่มักพบบ่อยใน Toxic People คือ การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ด้วย โดยสามารถจำแนกนิสัยของคนกลุ่มนี้ได้ ดังนี้
- มองตัวเองเป็นศูนย์กลาง ถือว่าตัวเองเก่งที่สุด ดีที่สุด อยู่เหนือกว่าคนอื่น บงการให้ทุกคนทำตามที่ตัวเองต้องการ และตัดสินคนอื่นด้วยบรรทัดฐานของตนเอง
- เป็นคนไม่ชัดเจน เอาแน่เอานอนไม่ได้ อยากเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งมักทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
- ชอบเรียกร้องความสนใจและความสงสารจากคนรอบข้าง และแสดงพฤติกรรมไม่มีมารยาทอยู่บ่อยครั้ง
- ทำร้ายคนรอบข้างทั้งทางร่างกาย จิตใจ และคำพูด
สาเหตุที่ส่งผลให้กลายเป็น Toxic People
สาเหตุของการเป็น Toxic People มีอยู่หลายประการ และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลมาจากหลาย ๆ สาเหตุผสมผสานกัน ได้แก่
- ประสบการณ์ในวัยเด็ก : การถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่วุ่นวาย เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ถูกทารุณกรรม รังแก หรือถูกกดดันให้ประสบความสำเร็จ หรือการขาดความรัก ความอบอุ่น และการสนับสนุนจากครอบครัว มักเป็นปมฝังใจทำให้บุคคลนั้นมีพฤติกรรมหรือทัศนคติที่ไม่ดี
- ปัญหาสุขภาพจิต : บุคคลนั้นอาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคบุคลิกภาพก้าวร้าว โรคบุคลิกภาพหลงตัวเอง
- ความคิดและความเชื่อที่ผิดเพี้ยน : คนที่เป็น Toxic People มักเชื่อว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น เชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเอง ชอบมองโลกในแง่ร้าย หรือในทางกลับกันอาจคิดว่าตัวเองไม่ดีพอ กลัวความล้มเหลว จึงต้องแสดงออกมาในลักษณะ Toxic เพื่อซ่อนความกลัวเหล่านั้น
- พฤติกรรมเลียนแบบ : อาจเห็นแบบอย่างมาจากคนรอบข้าง เรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ หรือเคยได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจากคนอื่น
- ปัจจัยทางชีวภาพ : ส่วนหนึ่งของการเป็น Toxic People อาจมาจากพันธุกรรม หรือสารเคมีในสมอง
แนวทางรับมือกับคน Toxic อย่างถูกวิธี
หากคุณกำลังเผชิญกับความสัมพันธ์ Toxic ไม่ว่าจะในฐานะเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก และไม่รู้จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรดี คำแนะนำเหล่านี้คือตัวอย่างแนวทางการรับมือกับคน Toxic ได้แก่
- สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่า พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกมา เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและส่งผลเสียต่อคนใกล้ชิด เพื่อให้พวกเขารู้ตัว ยอมรับ และปรับปรุงพฤติกรรมให้ดีขึ้น
- กำหนดขอบเขตที่ชัดเจน ไม่ยินยอมให้คนที่มีความคิดเป็นพิษรุกล้ำความเป็นส่วนตัว เช่น เดินหนีเมื่อมีพฤติกรรมเชิงลบ
- หากการสื่อสารและกำหนดขอบเขตไม่ได้ผล แนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนท็อกซิก หรือพูดคุยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่ดีขึ้น ก็เป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่คุณควรตัดเขาออกจากชีวิตแล้ว
- ไม่ว่าจะเผชิญพฤติกรรมเชิงลบมากแค่ไหน สิ่งสำคัญคือ อย่าโทษตัวเอง เพราะคุณอาจกำลังถูก Toxic People ทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายผิด หรือที่เรียกว่า Gaslighting
อย่าให้ความคิดที่เป็นพิษของคนอื่น ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์และกระทบกับชีวิตประจำวันของคุณในระยะยาว หากต้องการลดผลกระทบจากการมีคนใกล้ตัวเป็น Toxic People สามารถพูดคุยหรือขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาได้ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วยความอบอุ่นใจ
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889LINE Official Account: @bmhh
Location & Google Map: ติวานนท์ 39
Website: bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH