
ความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของมนุษย์ แต่บางครั้งหลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่า ความสัมพันธ์ที่ดี กำลังแปรเปลี่ยนเข้าสู่ความสัมพันธ์เป็นพิษ หรือที่เรียกว่า Toxic Relationship ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก
พร้อมตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมของคุณและคู่ ด้วย 7 สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าพวกคุณกำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Toxic Relationship รวมถึงแนวทางแก้ไขด้วยตนเอง ตลอดจนการรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา
Toxic Relationship คืออะไร ?
ความสัมพันธ์เป็นพิษ (Toxic Relationship) คือ สภาวะที่ความสัมพันธ์ส่งผลเสียต่อจิตใจ อารมณ์ หรือสุขภาพกายของผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนรัก เพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน การอยู่ในความสัมพันธ์ลักษณะนี้สามารถสร้างความเครียดและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง
7 สัญญาณความสัมพันธ์ Toxic และแนวทางการแก้ไข
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษไม่เพียงทำร้ายจิตใจและอารมณ์ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและการดำเนินชีวิตในทุกด้านได้ ดังนั้น การตระหนักถึงสัญญาณของความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้รู้เท่าทันและดำเนินการแก้ไข เช่น การตัดสินใจเดินออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษอาจเป็นก้าวแรกในการดูแลตัวเองและสร้างชีวิตที่สมดุลยิ่งขึ้น โดยตัวอย่างสัญญาณสำคัญที่บ่งชี้ว่าความสัมพันธ์อาจกำลังเป็นพิษ และแนวทางในการจัดการอย่างเหมาะสม เช่น
1. คนรักทำลายความภาคภูมิใจในตัวเองของคุณ
- สัญญาณ : ความสัมพันธ์ควรเป็นพื้นที่ที่คุณรู้สึกได้รับการยอมรับและสนับสนุน แต่หากอีกฝ่ายมักวิจารณ์คุณในเชิงลบ เช่น พูดจาเสียดสีเกี่ยวกับรูปลักษณ์หรือความสามารถของคุณ อาจทำให้คุณเริ่มสงสัยในคุณค่าของตัวเอง
- แนวทางแก้ไข : เริ่มจากการฟังเสียงภายในและตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง ปรึกษาคนใกล้ตัวเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และเรียนรู้วิธีจัดการกับคำวิจารณ์ในลักษณะนี้ เพื่อปกป้องจิตใจของคุณในระยะยาว
2. ขาดความไว้วางใจ
- สัญญาณ : ความไว้วางใจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่ดี หากคุณรู้สึกไม่มั่นคงในพฤติกรรมของอีกฝ่าย เช่น เคยถูกโกหกหรือปกปิดความจริงจนกลายเป็นความไม่เชื่อใจ อาจทำให้ความสัมพันธ์เต็มไปด้วยความเครียดและความระแวง
- แนวทางแก้ไข : การพูดคุยอย่างเปิดใจ เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ การขอคำปรึกษาจากคนใกล้ตัวอาจช่วยให้คุณและคู่ออกจากความสัมพันธ์เป็นพิษ ตลอดจนสามารถรื้อฟื้นและสร้างความไว้วางใจให้กลับคืนมาได้
3. ไม่เคารพขอบเขตส่วนตัว
- สัญญาณ : การที่อีกฝ่ายละเมิดขอบเขตส่วนตัว เช่น แอบตรวจสอบโทรศัพท์หรือข้อมูลส่วนตัว อาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและสูญเสียความเป็นตัวเองในความสัมพันธ์
- แนวทางแก้ไข : ฝึกกำหนดและสื่อสารถึงขอบเขตส่วนตัวอย่างชัดเจน รวมทั้งการปรึกษาคนใกล้ชิดสามารถช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีปกป้องพื้นที่ส่วนตัว และสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกัน
4. ขาดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
- สัญญาณ : ความสัมพันธ์ที่ดีควรเป็นพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายของกันและกัน หากคุณรู้สึกว่าอีกฝ่ายขัดขวางหรือพูดจาบั่นทอนความฝันของคุณ อาจเป็นสัญญาณของความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุล
- แนวทางแก้ไข : สื่อสารความต้องการของคุณอย่างตรงไปตรงมา และอธิบายถึงความสำคัญของการสนับสนุนในชีวิตคู่ หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น การเข้ารับคำแนะนำและปรึกษาจิตแพทย์อาจช่วยหาทางแก้ไขได้

5. ความไม่สมดุลในการให้และรับ
- สัญญาณ : หากคุณรู้สึกว่าเป็นฝ่ายให้มากกว่ารับในความสัมพันธ์ เช่น คุณต้องเป็นผู้เสียสละเวลา พลังงาน หรือทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมแบบนี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ หมดไฟ จนทำให้เกิดความสัมพันธ์เป็นพิษได้
- แนวทางแก้ไข : หมั่นพูดคุยกับอีกฝ่ายเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทของแต่ละคนในความสัมพันธ์ นอกจากนี้ การปรึกษาคนใกล้ชิดสามารถช่วยให้คุณค้นพบวิธีสร้างสมดุลในการให้และรับอย่างเหมาะสม
6. พยายามควบคุมอีกฝ่าย
- สัญญาณ : การที่อีกฝ่ายพยายามควบคุมชีวิตของคุณ เช่น ห้ามพบเพื่อนหรือญาติ หรือกำหนดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคุณ จนทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดขับข้องใจ ไม่มีความสุข จนอยากออกจากความสัมพันธ์แต่ก็ไปไม่ได้ นี่ก็นับเป็นหนึ่งสัญญาณของการอยู่ในความสัมพันธ์เป็นพิษได้เช่นเดียวกัน
- แนวทางแก้ไข : การพูดคุยเพื่อกำหนดขอบเขตและความคาดหวังที่เหมาะสมในความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ หากยังคงมีความกดดัน คุณอาจต้องขอคำปรึกษาจากคนใกล้ตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้
7. อิทธิพลเหนืออารมณ์และความรู้สึก
- สัญญาณ : การที่อีกฝ่ายใช้วิธีการทำให้คุณรู้สึกผิดหรือข่มขู่ เพื่อให้คุณทำตามที่เขาต้องการ จนอาจทำให้คุณสูญเสียการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
- แนวทางแก้ไข : รับฟังความรู้สึกของตัวเองและกำหนดขอบเขตทางอารมณ์ให้ชัดเจน พร้อมเรียนรู้วิธีปฏิเสธอย่างมั่นใจหากคุณรู้สึกไม่สบายใจในสถานการณ์ใด ๆ
หากคุณพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับสัญญาณเหล่านี้ในความสัมพันธ์ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ โดยการปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อฟื้นฟูจิตใจของคุณและคู่ให้กลับมามีความสุขได้อย่าง Healthy โดยที่ Bangkok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี เรามีจิตแพทย์เฉพาะทาง พร้อมยินดีอยู่เคียงข้างคุณ
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก 4 ประเภทของไบโพลาร์ พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทางจิตเวชที่ส่ […]

ชนิดของโรคซึมเศร้า รู้เท่าทัน รับมือถูกวิธี
โรคซึมเศร้า อาการป่วยทางใจที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้สึก […]

โรคแพนิคคืออะไร ? มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ปรา […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH