สายเที่ยว – ปาร์ตี้ ต้องรู้เท่าทัน ผลเสียของการ “ดื่มแอลกอฮอล์” ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์ต้องดื่มในปริมาณที่พอดี ก็จะสามารถลดความเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น , ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งปริมาณที่แนะนำในการดื่ม ผู้ชายคือ 2 ดื่มมาตรฐาน ผู้หญิงคือ 1 ดื่มมาตรฐาน โดยปริมาณ 1 ดื่มมาตรฐานเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 14 กรัม
ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่ทำให้แอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายในด้านอื่น ๆ เช่น อายุ โรคประจำตัว เชื้อชาติ โดยร่างกายในแต่ละคนสามารถรับปริมาณแอลกอฮอล์ได้ไม่เท่ากัน และแอลกอฮอล์อาจจะไม่ได้ดีต่อร่างกายของทุกคน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ที่มีหลักฐานว่าการดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความผิดปกติด้านสติปัญญา และร่างกาย
5 ผลเสีย ของแอลกอฮอล์ มีดังนี้
- พิษจากแอลกอฮอล์จะส่งผลให้อวัยวะในร่างกายทำงานลดลง เช่น เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร ตับอ่อนอักเสบ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับ โดยคนที่ติดแอลกอฮอล์มีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะตับแข็งมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า
- ผลต่อระบบประสาทและสมอง อาจทำให้เกิดโรคลมชัก ปลายประสาทอักเสบ อาจมีอาการพูดไม่ชัด เดินเซ หรือแม้กระทั่งความรู้สึกตัวผิดปกติไป
- ผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง เพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้การกินอาหารได้ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินบี หรือโปรตีนบางชนิด ซึ่งนำมาสู่ภาวะโลหิตจางได้
- ในผู้หญิงอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ระบบสืบพันธุ์ที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มา ไข่ไม่ตก และอาจทำให้ประจำเดือนหมดเร็ว (menopause)
- หญิงตั้งครรภ์ มีหลักฐานว่าแอลกอฮอล์มีผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้การพัฒนาร่างกายและสติปัญญาของทารกผิดปกติ เช่น ตัวเตี้ย น้ำหนักน้อย ระดับสติปัญญาต่ำ และอยู่ไม่นิ่ง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแสดงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หากคนรอบข้างมีพฤติกรรมนี้ แนะนำให้พูดคุยสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ ในการหยุดดื่มแอลกอฮอล์ หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH