ออทิสติกแท้ vs ออทิสติกเทียม

Share
แยกให้ออก ออทิสติกแท้ vs ออทิสติกเทียม
แยกให้ออก ออทิสติกแท้ vs ออทิสติกเทียม

​มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา ที่มีปัญหาบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ ออทิสติก อ่านไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ตามวัย ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มมีความกังวลว่าลูกของเราเข้าข่ายโรคนี้หรือไม่

​โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD หมายถึง ทักษะในการเรียนรู้ของเด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้าในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านพร้อมๆ กัน ได้แก่ ด้านการอ่าน ด้านการเขียน และด้านการคำนวณ หากสังเกตดีๆ จะพบว่าเด็กกลุ่มนี้พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเรียน เพราะพวกเขาเรียนไม่ทันเพื่อน ทั้งนี้ ในความจริงแล้วยังมีเด็กอีกประเภทหนึ่งที่มีพฤติกรรมคล้ายเด็ก LD แต่สามารถหายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า เด็ก LD เทียม

ออทิสติกแท้ กับ เทียม ต่างกันอย่างไร?

​ความแตกต่างของ 2 กลุ่มนี้คือ เด็กออทิสติกแท้ เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ต้องรักษาโดยจิตแพทย์เด็ก และต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ส่วนเด็กออทิสติกเทียม หรือโรคสมาธิสั้น เกิดจากการที่พวกเขาเข้าถึงสื่อได้อย่างรวดเร็วและถูกกระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยภาพตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าสิ่งที่อยู่ข้างหน้าพวกเขาไม่มีความน่าสนใจมากพอ เช่น การสอนของครู การนั่งทำแบบฝึกหัดนานๆ เด็กก็จะไม่จดจ่อกับการเรียน และมีปัญหาในการพูด อ่าน เขียน และคำนวณ หากผู้ปกครองคอยสังเกต เอาใจใส่สม่ำเสมอ และแก้ไขที่สาเหตุเป็นหลัก ภาวะ ออทิสติกเทียม หรือสมาธิสั้นก็จะหายไปเองได้

​เพราะฉะนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกเริ่มมีปัญหาด้านการเรียนรู้ และไม่แน่ใจว่าใช่ ออทิสติก หรือไม่ แนะนำให้พาไปตรวจประเมินกับจิตแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรักษาได้อย่างเหมาะสม

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม