ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ รึปล่าว” “เก่งพอแล้วหรอ” “เหมาะสมที่จะได้รับคำชมหรือไม่” ใครที่มีความคิดความรู้สึกแบบนี้ อาจเข้าข่ายเป็น Impostor Syndrome
Impostor Syndrome คือความรู้สึกที่คนเรามีต่อตัวเองว่าไม่คู่ควรกับความสำเร็จที่ได้รับ มักรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เก่งอย่างที่คนอื่นคิด หรือกลัวว่าความลับที่ว่าตัวเอง “ไม่เก่งจริง” จะถูกเปิดโปง แม้จะมีหลักฐานยืนยันความสามารถอยู่แล้วก็ตาม
โดยส่วนมากคนที่เป็น Impostor Syndrome มักชอบเอาตัวเองไปเปรียบกับผู้อื่น มีการตั้งมาตรฐานการใช้ชีวิตที่สูงเกินไป จนทำให้มีความกลัวที่จะล้มเหลว นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นเพราะการแข่งขันและความกดดันในสังคม
ปลดล็อกตัวเอง Impostor Syndrome ง่ายๆ
- ยอมรับความรู้สึก: การยอมรับว่าเรารู้สึกแบบนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญ
- ท้าทายความคิดที่ไม่เป็นจริง: ตั้งคำถามกับความคิดที่ว่า “ฉันไม่เก่งพอ” ด้วยหลักฐานที่เป็นจริง
- ฉลองความสำเร็จ: ให้รางวัลตัวเองเมื่อทำอะไรสำเร็จ ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน
- พัฒนาทักษะใหม่ๆ: การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
- ขอความช่วยเหลือ: พูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญ
หาก Impostor Syndrome ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้ขาดความมั่นใจในการทำงาน หรือสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ยาก หรือเริ่มรู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้าอย่างรุนแรง การปรึกษาจิตแพทย์จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
“การให้อภัย” จิตวิทยาที่ช่วยเยียวยาใจ
คำกล่าวที่ว่า "การให้อภัย คือการใช้จิตวิทยาอย่างหนึ่ง" นั้นมีความถูกต้องและลึกซึ้งมาก ซึ่งการให้อภัย ไม่ใช่เพียงแค่การพูดคำว่า
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH