ในช่วงปฐมวัย อาจกล่าวได้ว่าเป็น “เวลาทอง” ที่พ่อแม่ต้องส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้แก่ลูก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ด้านความคิด รวมไปถึงด้านจิตใจ เพื่อให้เด็ก ๆ เติบโตอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับโลกกว้างได้ในที่สุด ซึ่งหนึ่งในทักษะสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด คือทักษะสมอง หรือ Executive Function (EF) ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการคิดที่ชาญฉลาด แต่ยังสามารถรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง นำไปสู่แนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จได้ในอนาคต
ทักษะสมอง Executive Function (EF) คืออะไร ?
ทักษะสมอง Executive Function (EF) คือความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นกระบวนทางความคิดระดับสูง มาจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุมการกระทำ การยับยั้งตนเอง และการแก้ปัญหา ทักษะเหล่านี้ช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการใช้ชีวิต การเรียน และการทำงาน อีกทั้งยังสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ทักษะสมอง EF สำคัญอย่างไรกับเด็กช่วงปฐมวัย ?
ทักษะสมอง Executive Function (EF) คือสิ่งที่จำเป็นต้องส่งเสริมตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย หรืออายุประมาณ 4-6 ปี เนื่องจากสมองส่วนหน้ากำลังเจริญเติบโตและสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF จะส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในระยะยาว พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงวัยนี้ เพื่อที่ลูกจะได้เติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมเผชิญกับโลกกว้างได้อย่างมั่นใจ
ทักษะสมอง EF มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก จัดเป็น 2 กลุ่มทักษะ คือ
- ทักษะพื้นฐาน (Basic) ประกอบไปด้วย
- ทักษะด้านความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) คือการนำความรู้ต่าง ๆ ที่ประสบจากสิ่งรอบตัว หรือเรียนรู้จากผู้อื่น มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน หรือการใช้ชีวิต
- ทักษะด้านการยั้งคิดและไตร่ตรอง (Impulse Control/ Inhibitory Control) คือรู้จักควบคุมพฤติกรรม หรือการกระทำ ไม่ให้เกิดการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- ทักษะด้านความยืดหยุ่นทางปัญญา (Shift/ Cognitive Flexibility) คือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้
- ทักษะสูง (Advance) ประกอบไปด้วย
- ทักษะด้านการจดจ่อและใส่ใจ (Focus/ Attention) คือการควบคุมตนเองไม่ให้ว่อกแว่ก และจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังปฏิบัติ
- ทักษะด้านการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) คือการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเหมาะสม
- ทักษะด้านการติดตามและประเมินตนเอง (Self-Monitoring) คือการรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำต่าง ๆ ของตนเอง และประเมินเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
- ทักษะด้านการวางแผน (Planning & Organizing) คือการจัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ รู้จักวางแผนในสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้งานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงได้
- ทักษะด้านการริเริ่มลงมือทำ (Initiating) คือการลงมือปฏิบัติ ด้วยมีกระบวนการคิดและการทำที่รอบคอบ ผ่านการพิจารณาแล้ว
- ทักษะด้านการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือความพยายามที่จะทำในสิ่งต่าง ๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้ประสบความสำเร็จ
กิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะสมอง (EF) คืออะไร ?
กิจกรรมที่จะช่วยเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กช่วงปฐมวัย มีอยู่หลากหลายกิจกรรม เช่น
- เล่นเกม โดยควรเลือกเป็นเกมประเภทฝึกความจำ การวางแผน และการควบคุมอารมณ์
- ทำงานศิลปะ เช่น การวาดรูป ปั้นดินน้ำมัน ช่วยฝึกการวางแผน ความจำใช้งาน และการลงมือทำให้สำเร็จ
- อ่านหนังสือ เพื่อฝึกการจดจ่อ และพัฒนาทักษะการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่อยู่ในหนังสือ
- เล่นบทบาทสมมติ ฝึกจินตนาการ และการแก้ปัญหา รวมถึงรู้เท่าทันภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ
สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมอง Executive Function (EF) ให้แก่ลูกน้อยในช่วงปฐมวัย ทั้งทักษะกระบวนการคิด การวางแผน การลงมือทำ รวมถึงการบริหารจัดการงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง สามารถขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการทางด้านจิตใจที่ดี พร้อมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
Location & Google Map: ติวานนท์ 39
Website: bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต
ความเครียดเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตและชีวิตประจำวัน
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ
รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้
จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH