อาการแพนิคกำเริบ (Panic Attack) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก เหงื่อออก ตัวสั่น รู้สึกเหมือนจะตาย หรือกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งตื่นตระหนกและอาการแย่ลง
อาการของแพนิคกำเริบ มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกใจไม่ดี หงุดหงิดกระวนกระวาย ก่อนที่จะเกิดอาการแพนิคกำเริบ ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกว่า
อาการกำลังจะกำเริบ ให้ปฏิบัติตาม ดังนี้
- หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
- พกยาที่แพทย์ให้ติดตัวไว้ และกินเมื่ออาการเป็นมาก
- ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกต่าง ๆ ที่ช่วยให้มีความสุข เพื่อเลี่ยงไม่ให้ตัวเองจดจ่อกับอาการแพนิค
อย่างไรก็ตาม อาการแพนิคกำเริบ มักจะหายไปเองภายใน 5-10 นาที แต่บางครั้งอาจจะใช้เวลานานถึง 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง
แต่หากมีความกังวลใจหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวางแผนแก้ไขในอนาคต
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH