6 วิธีรับมือเมื่อถูก “นอกใจ”

Share

หากพูดถึงการนอกใจ คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นในชีวิตคู่เพราะส่งผลกระทบด้านความรู้สึก เช่น รู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ไม่มีกำลังใจ จนส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำให้ชีวิตคู่หรือครอบครัวมาถึงทางตันที่อาจถึงขั้นหย่าร้าง และบางคนอาจมีความผิดปกติทางอารมณ์จนเป็นโรคทางจิตเวชได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด  

6 วิธีรับมือเมื่อถูกนอกใจ 

  1. อนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึกเจ็บปวด เสียใจ ผิดหวัง เพราะอารมณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งธรรมดาที่จะเกิดขึ้นเมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้
  2. รักตัวเองให้มากขึ้น แบ่งความรักที่เคยให้เขาคนนั้นกลับมาให้ตัวเองมากขึ้น ดูแลตัวเองในเรื่องที่ทำได้ เช่น ดูแลความสะอาดส่วนตัว ออกกำลังกาย แต่งตัวให้สดใส พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชอบหรือผ่อนคลาย
  3. บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้คนที่ไว้ใจได้ฟัง เพราะความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นหนักเกินกว่าจะรับไหวด้วยตัวคนเดียว นอกจากนี้การที่ได้เล่าความทุกข์จะทำให้ความทุกข์นั้นเบาลง
  4. ในช่วงแรกที่ฟุ้งซ่าน แนะนำให้หากิจกรรมทำต่อเนื่อง ทำตัวให้ยุ่งเข้าไว้จะได้ไม่มีเวลามานั่งคิดหรือรู้สึกกับเรื่องที่เสียใจ แต่หากอารมณ์เย็นลงหรือเหตุการณ์นั้นผ่านไประยะหนึ่ง ค่อย ๆ มานั่งคิดทบทวนเหตุการณ์และอารมณ์ที่เกิดขึ้น
  5. หากอารมณ์เย็นลง หลังจากได้ทบทวนเหตุการณ์และอารมณ์ต่างๆ ให้ลองบอกเขาผ่านข้อความ เช่น “ฉันรู้สึก….” แทนประโยค “คุณทำให้ฉันรู้สึก…” , “ฉันรู้สึกแย่กับสิ่งที่เกิดขึ้น” แทนประโยค “คุณทำสิ่งที่แย่มาก” เพื่อบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราโดยไม่กล่าวหาเขา และเขาไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไร 
  6. หลังจากอารมณ์ดีขึ้น ลองกลับมาถามความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง เช่น อยากได้ความซื่อสัตย์ อยากมีครอบครัวที่พร้อมหน้า อยากให้เขามีแต่เราคนเดียว หรืออยากให้เขาอยู่ข้าง ๆ เรา แม้เขาจะมีคนอื่นด้วย เป็นต้น หลังจากนั้นลองทบทวนดูว่า มีวิธีไหนที่สามารถทำให้เกิดในสิ่งที่ต้องการ ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็จะมีค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้เลือกอีกทางเสมอ

ทั้งนี้ หากเวลาผ่านไปนานเกิน 2 เดือนแล้วยังจัดการความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ได้ พยายามคุยกับคนที่ไว้ใจแล้ว พยายามผ่อนคลายจัดการอารมณ์ตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วยังทำใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ อาจเป็นเพราะมีความผิดปกติบางอย่างของอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ  แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการบำบัดที่เหมาะสม 

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม