การบูลลี่ในโรงเรียน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ปี 2561 พบว่านักเรียนไทยเกือบครึ่งเคยถูกบูลลี่ โดยประเภทการบูลลี่ที่พบได้บ่อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.6 คือการล้อเลียนหน้าตาหรือบุคลิก, ร้อยละ 63.3 ตอกย้ำปมด้อยและด่าทอ, ร้อยละ 55.1 มีการทำร้ายร่างกาย, ร้อยละ 47.2 มีการข่มขู่คุกคาม, ร้อยละ 44.2 โดนเพื่อนๆกัดกัน, ร้อยละ 39.7 ถูกแฉความลับ, และร้อยละ 10.9 ถูกทำร้ายทางเพศ
ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรมีวิธีการรับมือที่เหมาะสมเมื่อลูกของเราถูกบูลลี่ โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การรับฟังลูกอย่างตั้งใจและปฏิบัติตาม 7 คำแนะนำ ดังนี้
- สอบถามรายละเอียด: ถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกอย่างไร โดยต้องฟังอย่างใจเย็น ตั้งใจ และไม่ตำหนิลูก
- แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ: ควรบอกลูกว่าพ่อแม่เข้าใจ ลูกไม่ได้ผิดอะไร พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างลูกเสมอ จะช่วยจัดการปัญหา
- เก็บหลักฐาน: ถ้ามีรอยช้ำ ให้ถ่ายรูปไว้, ถ้ามีข้อความ อีเมล หรือบันทึกการสนทนาให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
- พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง: พูดคุยกับครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่ที่โรงเรียน แจ้งให้ทราบถึงปัญหาและขอความช่วยเหลือ
- หาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก: สอนให้ลูกกล้าหาญ รู้จักปฏิเสธ รู้จักวิธีปกป้องตัวเอง ให้ลูกแจ้งพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้เมื่อถูกบูลลี่ และฝึกให้เขามีทักษะการเข้าสังคม มีเพื่อน มีกิจกรรมเสริมพัฒนาการ
- ดูแลสภาพจิตใจลูก: ควรสังเกตลูกว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หากมีอาการเหล่านี้ ควรพาลูกไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
- ตัวเอง: การดูแลลูกที่ถูกบูลลี่อาจสร้างความเครียดให้กับพ่อแม่ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น พ่อแม่ควรดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหาเวลาผ่อนคลายกันทั้งครอบครัว
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH