6 แนวทางลดโอกาสลูกติดจอ 

Share
6 แนวทางลดโอกาสลูกติดจอ

ด้วยภาระหน้าที่หลาย ๆ อย่างของคุณพ่อคุณแม่ในปัจจุบัน อาจทำให้มีเวลาในการอยู่กับลูกอย่างจำกัด ขณะเดียวกันเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์อาจเข้ามามีบทบาทในชีวิตของลูกมากขึ้น ดังนั้น ก่อนที่สื่อออนไลน์เหล่านั้นจะสร้างปัญหาในอนาคต คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ มีวินัยในการดูจอ ผ่านการทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี ลดการขัดแย้ง

6 แนวทาง ที่จะทำให้ลูกไม่ติดจอและสามารถใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. สร้างวินัยกฏกติกา กำหนดเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้จอ: พ่อแม่ควรกำหนดกฏ กติกา ระยะเวลาในการใช้สื่อดิจิตอลตามความเหมาะสม เช่น ห้ามใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ในชั่วโมงก่อนนอนหรือเวลาทานอาหาร โดยใช้หลักการ “หน้าที่ต้องมาก่อน” สอนให้รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบตามวัย การดูจอต้องไม่รบกวนหน้าที่หลัก ฝึกการควบคุมและจำกัดความต้องการจองตัวเอง และเคารกฎกติกาอยู่เสมอ สำหรับเด็กเล็กไม่ควรดูจอเกิน 15 – 30 นาที/ครั้ง เวลารวมไม่เกิน 1 – 2 ชั่วโมง/วัน
  2. สร้างกิจกรรมที่น่าสนใจ: สร้างกิจกรรมที่น่าสนใจและท้าทายสำหรับลูก เช่น การชักชวนทำแบบฝึกหัด การเรียนรู้ที่จำเป็นเหมาะสมตามวัย การจัดเวลาสำหรับเล่นกีฬา อ่านหนังสือ หรือทำงานศิลปะ เพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายนอกจากการใช้จอ
  3. เป็นตัวอย่างที่ดี: การเลียนแบบเป็นพัฒนาการการเรียนรู้ที่มีผลอย่างมาก พอ ๆ กับคำสั่งสอน ดังนั้น ระยะเวลาที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านใช้จอ จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติ หล่อหลอมความคิดของเด็ก 
  4. เลือกสื่อที่มีคุณค่า: ควรเลือกสื่อที่มีคุณค่าและการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามช่วงวัย สลับสื่อแบบไม่มีสาระบ้างตามความสนใจ ให้อิสระที่เด็กเลือกได้บ้าง แต่ควรระวังสื่อที่ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหามีความรุนแรง ล่อลวง หรือเรื่องเพศ พ่อแม่ควรเข้าถึงได้และมั่นใจในสิ่งที่เด็กได้ใช้เวลากับจอต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันได้ ก็จะยิ่งช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
  5. รวมกิจกรรมร่วมกับลูก: หากเป็นไปได้ ลองรวมกิจกรรมของตัวเองในกิจกรรมที่ลูกชื่นชอบ เช่น เล่นเกมที่ต้องมีผู้เล่นหลายคน การเล่นบอร์ดเกม การออกกำลังกายร่วมกัน หรือการทำอาหาร ทำงานบ้านด้วยกัน ด้วยบรรยากาศที่ชักชวน ไม่เป็นการบังคับ ลดการตำหนิ บ่น เพื่อสร้างบรรยากาศการแบ่งปันพื้นที่ปลอดภัย การใช้เวลาดี ๆ ด้วยกันในพื้นที่บ้าน
  6. กำหนดเวลาสำหรับตัวเองด้วย: การให้เวลาสำหรับคุณพ่อคุณแม่เอง เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพื่อการบริหารจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ และมีพื้นที่ส่วนตัวเพื่อพักผ่อน จะช่วยลดความตึงเครียดของตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เพราะความสุขเหล่านั้นจะถ่ายทอดไปสู่ตัวเด็ก 

การสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เป็นเกราะป้องกันที่สำคัญมากเพื่อป้องกันปัญหาทางด้านพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กในด้านต่าง ๆ  โดยเฉพาะด้านจิตใจ

การสร้างความสมดุลในการใช้เวลากับลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป ขอเพียงตระหนักและให้ความสำคัญตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะส่งผลดีต่อการเติบโตและพัฒนาการของลูก ทัศนคติ วินัยในการดูแลตัวเองในระยะยาว

พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม