5 วิธีกำจัด”ภาวะหมดไฟ”

Share
ภาวะหมดไฟ

ภาวะหมดไฟ Burnout syndromes เป็นภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ เป็นผลจากความเครียดที่สะสมจากการทำงานมากเกินไป ส่งผลให้ไม่อยากไปทำงาน มีอารมณ์ร่วมกับงานน้อยลง มองความสัมพันธ์ที่ทำงานในทางลบ มุมมองต่อคนอื่นแย่ลง จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานที่ไม่ดี หากสังเกตอาการตัวเองเข้าข่ายภาวะหมดไฟ ควรหาวิธีจัดการความรู้สึกเหล่านี้ให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีความสุข 

5 วิธีกำจัดภาวะหมดไฟ 

1. เข้าสังคม 

การมีสังคมถือเป็นยารักษาความเครียดโดยธรรมชาติ ซึ่งการคุยกับใครสักคน เช่น แฟน ครอบครัว เพื่อน ที่เป็นผู้ฟังที่ดีฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการคลายเครียด ถึงแม้ผู้ฟังจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ได้แต่ก็ได้ใช้เวลาอยู่กับคนที่ตัวเองรัก, การใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น ซึ่งการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานจะทำให้งานเบาลง และหากิจกรรมทำในที่ทำงาน, เลี่ยงการติดต่อกับคนคิดลบ การอยู่กับคนคิดลบจะดึงให้อารมณ์และมุมมองของตัวเราคิดลบไปด้วย แต่ถ้าจำเป็นต้องพบเจอหรือทำงานร่วมกันก็ให้ใช้เวลาน้อยที่สุด, ร่วมกลุ่มกิจกรรมทางสังคมที่ชอบ เช่น กลุ่มปฏิบัติธรรม กลุ่มท่องเที่ยว พูดคุยกับคนที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน จะทำให้มีเพื่อนใหม่และอาจได้วิธีแก้ปัญหาจากคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน, การให้ความช่วยเหลือคนอื่น จะทำให้ตัวเรามีความสุข แต่อย่าให้มากจนตัวเองลำบากหรือเสียเวลามากเกินไป 

2. เปลี่ยนมุมมองต่องาน

ถ้าเป็นงานที่รีบตลอดเวลา หรือทำงานแล้วไม่มีความสุข วิธีที่ดีที่สุดคือหางานใหม่ แต่ในความเป็นจริงการหางานไม่ได้ทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นลองหาคุณค่าในงาน ให้ความสนใจในเรื่องเล็กน้อย เช่น พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานตอนพักเที่ยงและลองเปลี่ยนทัศนคติต่องาน แต่ถ้ารู้สึกว่างานที่ทำอยู่หนักเกินไป ให้ลางานไปพักผ่อน หรือ ลางานแบบไม่รับเงินเดือนเพื่อใช้เวลาพักและเติมพลังให้กับตัวเอง 

3. จัดลำดับความสำคัญ

ลองหาเวลาคิดเกี่ยวกับความหวัง ความฝัน เป้าหมายในชีวิต โดยครั้งนี้อาจเป็นโอกาสในตามหาความสุข ลองทำอะไรช้าลงให้เวลาตัวเองได้พัก ทบทวน เยียวยาจิตใจ,  ลองฝึกปฏิเสธ, กำหนดเวลาในแต่ละวันที่จะตัดขาดจากเทคโนโลยี ปิดคอม โทรศัพท์, หาเวลาทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ เช่น โยคะ ทำสมาธิ ฝึกหายใจ  และนอนหลับพักผ่อน 

4. ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นยาต้านความเครียด ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น โดยต้องตั้งเป้าว่าจะออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ในช่วงเครียดแทนที่จะโฟกัสความคิด ให้หันมาโฟกัสร่างกาย ดูการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย

5. กินอาหารสุขภาพ

ควบคุมปริมาณการกินอาหาร เช่น กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่เหมาะสม ลดคาเฟอีนลดอาหารที่มีไขมัน ลดอาหารแปรรูปและอย่ากินของหวานมากเกินไป รวมไปถึงการเลิกบุหรี่ ถึงแม้บุหรี่เหมือนจะช่วยลดความเครียด แต่ที่จริงบุหรี่มีสารกระตุ้นที่ทำให้กังวลมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากลองวิธีเหล่านี้แล้วอาการภาวะหมดไฟไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเบื่องานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม