ดื่มสุรา เกินลิมิต เสี่ยงเกิดโรคตับแข็ง ไขมันพอกตับ

Share
ดื่มสุรา เกินลิมิต เสี่ยงเกิดโรคตับแข็ง ไขมันพอกตับ

ปัจจุบันหลายคนชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ  ซึ่งหากดื่มมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบทั้งด้าน สุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง พูดไม่ชัด เดินเซ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาในด้านความสัมพันธ์ครอบครัว ทำให้ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองลดลง จนเกิดความเครียด กดดัน ทำให้บรรยากาศในบ้านไม่น่าอยู่และไม่เหมาะกับเด็ก ซึ่งบ้านไหนที่มีเด็ก และพบคนในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม  รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานลดลง 

2 ภาวะอันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์ 

  1. ภาวะพิษจากแอลกอฮอล์ 

อาการพิษจากแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (blood-alcohol level) หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูง อาจกดการหายใจ สำลักอาเจียน อุณหภูมิร่างกายลดลง หรือ หงุดหงิดก้าวร้าวได้  

Memory blackouts หรือหลงลืมไปชั่วขณะ เกิดขึ้นได้หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก และถ้าเกิดอาการหลงลืมบ่อยๆ อาจทำให้อาการรุนแรงและเป็นยาวนานมากโดยอาจมีอาการยาวนานสูงถึงหนึ่งวัน 

  1. ภาวะถอนแอลกอฮอล์ 

เกิดในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีมีการลดปริมาณการดื่มหรือหยุดดื่มกระทันหัน อาการที่พบคือ ระดับการรู้ตัวลดลง เพ้อสับสน หลงลืม หูแว่ว/ภาพหลอน กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง นอนไม่หลับ มือสั่น เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาการเหล่านี้เป็นได้นาน 3-4 วัน โดยอาการจะแย่ลงช่วงเย็นหรือกลางคืน 

จะเห็นได้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปส่งผลเสียต่อร่างกายและเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคต่าง ๆ และยังส่งผลกระทบด้านต่อการใช้ชีวิต ในด้านความสัมพันธ์ครอบครัว และประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากพบตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการติดแอลกอฮอล์ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาควบคู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดที่จะเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม