6 เทคนิคพิชิตอาการกลัวเครื่องบิน

Share
6 เทคนิคพิชิตอาการกลัวเครื่องบิน

ในช่วงฤดูหนาวใกล้สิ้นปี เป็นช่วงที่ใครหลายคนชอบท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อไปรับลมหนาวและสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ พักผ่อนจากความเหนื่อยล้าในการทำงานมาตลอดทั้งปี แต่สำหรับผู้ที่กลัวเครื่องบิน การท่องเที่ยวอาจกลายเป็นเรื่องยากลำบาก จนทำให้ตัวเองพลาดโอกาสที่จะได้ท่องเที่ยวไปชมสถานที่สวย ๆ ด้วยตาตัวเอง

โรคกลัวเครื่องบิน เป็นอาการกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก สาเหตุของอาการกลัวเครื่องบินนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

6 เทคนิคพิชิตอาการกลัวเครื่องบิน

  1. กล้าที่จะเริ่มต้นออกเดินทาง – การมองข้ามช็อตไปถึงสถานที่ที่เราอยากจะไป การโฟกัสที่ปลายทาง หรือความตื่นเต้นที่จะได้ไปเห็นสถานที่ในฝันด้วยตัวคุณเอง ทำให้เราเริ่มมองการเดินทางเป็นจุดเริ่มต้นของความสุข ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความวิตกกังวลหรือความกลัวให้กับตัวคุณ
  2. เริ่มเดินทางด้วยเครื่องบินระยะใกล้ – จากที่เมื่อก่อนเดินทางไปเที่ยวในประเทศด้วยการขับรถส่วนตัว นั่งรถไฟ หรือนั่งรถโดยสาร ลองเปลี่ยนมาขึ้นเครื่องบินท่องเที่ยวในประเทศสักครั้ง ที่ใช้ระยะเวลาการเดินทางโดยเครื่องบินไม่เกิน 1 ชั่วโมง จะทำให้รู้สึกไม่นานหรือตึงเครียดจนเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป ซึ่งหากมีครั้งแรกแล้วผ่านไปด้วยดี ครั้งต่อไปอาจติดใจการนั่งเครื่องบินแล้วก็ได้
  3. เลือกที่นั่งให้เหมาะสม – สำหรับมือใหม่ที่มีความกังวลมาก อาจเลือกนั่งใกล้คนที่ไปด้วย เลือกที่นั่งติดกัน หรืออาจเลือกที่นั่งติดทางเดิน เพราะการที่มีคนเดินไปเดินมาใกล้ ๆ และพร้อมจะลุกออกได้ง่าย อาจทำให้รู้สึกสงบใจได้ง่ายมากขึ้น และถ้าเป็นคนที่กลัวความสูงมาก ควรหลีกเลี่ยงนั่งริมหน้าต่างเพื่อเป็นการป้องกันความวิตกกังวลที่อาจจะเกิดในช่วงการเดินทาง
  4. อย่าปล่อยเวลาไปเฉยๆ หาอะไรมาทำ – การนั่งนิ่ง ๆ เฉย ๆ อาจดูน่าเบื่อหรือบางครั้งก็สร้างความกังวลมากเกินไป แนะนำให้ลองพกหนังสือที่ชอบซักเล่มขึ้นไปนั่งอ่านหรือดาวน์โหลด podcast ที่ชอบไปนั่งฟังก็จะทำให้การเดินทางในแต่ละครั้งผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว
  5. คิดในแง่บวก – หากเกิดตกหลุมอากาศขึ้นมา อย่าเพิ่งตกใจจนเกินไป เพราะกัปตันบนเครื่องบินถูกฝึกมาอย่างดี กำลังพยายามนำทุกคนกลับสู่สภาวะปกติอีกครั้ง ปัจจุบันเครื่องบินสมัยใหม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังมีอุปกรณ์ช่วยติดตามการเดินทาง ทำให้ความปลอดภัยของการเดินทางด้วยเครื่องบิน ปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิมและท่องคาถาในใจว่า หนึ่งในล้านหรือน้อยกว่านั้นที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
  6. ทำจิตใจให้สงบ – เมื่อพยายามทำทุกข้อ แต่ถ้าสุดท้ายยังมีความวิตกกังวลอยู่ ลองฝึกหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ จะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น บางคนอาจลองสวดมนต์บทสั้น ๆ หรือทำสมาธิเป็นช่วง ๆ อาจช่วยทำให้ลดความวิตกกังวลลงไปได้

ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดลับที่จะทำให้กล้าลองเดินทางด้วยเครื่องบินสักครั้ง สำหรับคนที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเดินทาง หรือกลัวเครื่องบิน อย่าลืมมองข้ามช็อตไปที่จุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปพบเจอ รับรองว่า ความสุขและความสนุกรออยู่แน่นอน

หากปฏิบัติครบ 6 ข้อแล้วอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม โดยการรักษาโรคกลัวเครื่องบินเริ่มจากการบำบัดทางจิตที่จะช่วยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความกลัวเครื่องบิน  รวมไปถึงการรักษาด้วยยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการทางกายที่เกี่ยวข้องกับความกลัวเครื่องบิน เช่น อาการใจสั่น หายใจถี่ หรือเหงื่อออก

ทั้งนี้การรักษายังอาจขึ้นอยู่กับภาวะทางจิตใจว่ามีความพร้อมมากแค่ไหนในการจะเอาชนะโรคกลัวเครื่องบินให้หายไปได้

นพ.กฤตธี ภูมาศวิน
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม