การดึงผมตัวเองเป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวลบางครั้งอาจเกิดจากการคันที่หนังศีรษะ แต่หากพฤติกรรมการดึงผมเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป และทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือมีผมบางลง อาจเป็นสัญญาณของโรคดึงผม (Trichotillomania) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มความผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถช่วยบ่งชี้ได้ว่าพฤติกรรมการดึงผมผิดปกติหรือไม่ ได้แก่
- ดึงผมในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ เช่น ดึงผมเป็นกระจุกหรือดึงผมจนขาด
- ดึงผมในบริเวณเฉพาะ เช่น บริเวณศีรษะ ขนคิ้ว ขนตา เป็นต้น
- พยายามซ่อนผมที่ดึงออก
- รู้สึกอึดอัดใจหรือกังวลเมื่อไม่ได้ดึงผม
โรคดึงผมมักพบในเด็กและวัยรุ่น แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น พันธุกรรม, ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง, ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด กังวล วิตกกังวล, โรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น
หากพบว่าตัวเองมีอาการดึงผมบ่อยครั้งจนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือมีผมบางลง ควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
นอนไม่หลับ นับแกะช่วยได้จริงหรือ?
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาในการนอนหลับที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงานขึ้นไป โดยอาจมีอาการหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย
เมื่อคนใกล้ตัวเป็นซึมเศร้า ความเข้าใจคือยาที่ดีที่สุด
การมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การรับมืออย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วย
กลัวการปฏิเสธ อยากให้ทุกคนรัก จุดเริ่มต้นของการเป็น “People Pleaser”
หากคุณเป็นคนที่มักตอบรับทุกคำขอ ชอบเอาใจใส่คนอื่นเป็นพิเศษ หรือพยายามทำให้ทุกคนพึงพอใจแม้ต้องเสียสละความสุขของตัวเอง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH