ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้าม

Share
ภาวะหมดไฟในการทำงาน

ในปัจจุบันคนวัยทำงานมักเจอกับภาระงานหนัก ความเครียดสะสม และความกดดันจากการทำงาน ทำให้หลายคนเริ่มไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ลบ จนอาจกลายเป็นคนที่มีภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome โดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้

แพทย์หญิง อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟ เป็นการตอบสนองต่อภาวะกดดันจากการทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น มีอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน สมาธิลดลง มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ อารมณ์ไม่ดี มุมมองต่อตัวเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อาการภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 3 ด้าน

  1. ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ (Emotional Exhaustion) ความเครียดทางอารมณ์ คืออารมณ์ความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง อ่อนล้า ไม่อยากปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่อยากจัดการปัญหาเพราะความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น
  2. ความรู้สึกแยกจากความเป็นบุคคล (Depersonalization) คือทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นการแยกตัวจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ รู้สึกตัวเองแปลกแยกจากคนอื่น และความรับผิดชอบต่องานลดลง
  3. ความคิดว่าตัวเองด้อยความสามารถ ไม่ประสบความสำเร็จ (Reduced Personal Achievement ) การประเมินตนเองเชิงลบ สงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมถึงทักษะในการเผชิญปัญหาลดลง

สาเหตุของภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 2 ด้าน

1.สาเหตุจากองค์กร

2. สาเหตุจากนิสัย

สำหรับการป้องกันภาวะหมดไฟต้องเริ่มจากการเปิดรับมุมมองความเห็นที่แตกต่าง ควบคุมอารมณ์ได้ดี เข้าใจผู้อื่น ชอบเข้าสังคม เป็นปัจจัยที่ป้องกันภาวะหมดไฟได้, การสนับสนุนทางสังคม ถ้ามีการสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่ว่าจากครอบครัว สามี-ภรรยา เพื่อนร่วมงาน ลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ และวิธีการจัดการปัญหา การแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นกับปัญหา problem-focused coping จะลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ แต่ถ้าแก้ปัญหาโดยจัดการกับอารมณ์เชิงลบ จะทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงปัญหา และแยกตัวจากสังคมตามมา

อย่างไรก็ตามภาวะหมดไฟในการทำงานอาจไม่ร้ายแรง แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ หากสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างได้เร็ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตัวเองและการทำงาน รวมไปถึงการจัดการเวลาการทำงาน พักผ่อนให้เหมาะสม หากยังไม่สามารถขจัดปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิง อริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม