ความเครียดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย จากการใช้ชีวิตที่มีความกดดัน และความคาดหวังในชีวิตสูง ทำให้บางคนมีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ลำไส้แปรปรวน แผลในกระเพาะอาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล
การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด
- สารสื่อประสาท คือความเครียดจะทำให้สารสื่อประสาทเสียสมดุล เมื่อพบความเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะปรับตัวให้ทนกับความเครียดเดิม แต่ถ้าเจอความเครียดเรื่องใหม่จะมีการตอบสนองที่ไวมากกว่าเดิม
- ระบบต่อมไร้ท่อ ความเครียดจะเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน ส่งผลให้มีการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต
- ระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียดจะยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
การรักษาความเครียดมีทั้งการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด
- การรักษาด้วยยา จิตแพทย์อาจสั่งยาต้านเศร้า ยาคลายกังวล ยาปรับอารมณ์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรค
- การทำจิตบำบัด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้การพูดคุยระหว่างผู้ป่วยและจิตแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด และพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต
สำหรับการป้องกันความเครียด สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น, ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งสมาธิ โยคะหรือไทเก็ก, ไม่คิดเชิงลบ หมั่นคิดบวกและขอบคุณสิ่งดี ๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน, เรียนรู้ที่จะปฏิเสธงานเพิ่มหากยุ่งหรืองานหนักเกินไป, ทําสิ่งที่ทําให้เรายิ้มได้และเรียนรู้ที่จะยอมรับว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ และติดต่อกับคนที่เรารัก เพื่อน หรือคนที่ทําให้เราหัวเราะได้ พวกเขาเหล่านี้สามารถเป็นแรงสนับสนุนจิตใจทำให้เราก้าวผ่านปัญหาไปได้ และทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว
อย่างไรก็ตาม ความเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากสามารถรับมือกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงได้ แต่ถ้าความเครียดส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพูดคุยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH