เข้าใจ “ภาวะสิ้นยินดี” ความผิดปกติทางอารมณ์ ที่ต้องรีบรักษา

Share

ทุกคนย่อมใฝ่ฝันถึงความสุข และพยายามสรรหาสิ่งที่จะมาสร้างความสุขให้แก่ตนเอง แต่ถ้าพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวกำลังอยู่ในภาวะไร้ความรู้สึก ไม่สุข ไม่ทุกข์ และรู้สึกเฉยชา ไม่อยากทำอะไร ราวกับชีวิตไร้ซึ่งสีสันโดยไม่รู้ตัวอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะสิ้นยินดี” ซึ่งเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคไม่ยินดียินร้าย หรือ “ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia)”  คืออาการผิดปกติทางจิตเวชที่ผู้ป่วยจะเฉยชาต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง ส่งผลให้ไม่มีความสุข ไม่มีความสนุก ไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่เมื่อก่อนสิ่งต่าง ๆ รอบตัวสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ เช่น การไปดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยวกับคนรัก ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคเครียดหลังจากประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจ  หรือในบางครั้งก็เป็นผลจากโรคทางกาย เช่น โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดทางสมอง โดยอาการของภาวะสิ้นยินดีจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

สาเหตุของภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดี หรือโรคไร้ความรู้สึก มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในสมอง เนื่องจากโดยปกติแล้วสมองจะหลั่งสารแห่งความสุข หรือฮอร์โมนโดปามีนออกมา เมื่อทำในสิ่งที่ชอบ แต่สำหรับคนที่มีภาวะสิ้นยินดี สมองจะไม่มีการหลั่งสารโดปามีน จึงทำให้รู้สึกไม่มีความสุขเวลาทำกิจกรรมที่ตัวเองเคยชอบ

อาการของภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดี จะแสดงอาการออกมาในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่พบมาก มีดังต่อไปนี้

ประเภทของภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่อยากพบเจอ พูดคุย ไม่ได้ต้องการสร้างสัมพันธ์กับบุคคลใด
  2. ภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไปกินอาหาร ไปดูหนัง ก็ไม่มีความสุขเหมือนที่เคย

แนวทางการรักษาของภาวะสิ้นยินดี

ภาวะสิ้นยินดี ไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่จะเป็นการรักษาด้วยการวินิจฉัยว่ามีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ โดยจะมีแนวทางในการรักษา ดังนี้

แนวทางการป้องกันภาวะสิ้นยินดี

เช่นเดียวกับการรักษาภาวะสิ้นยินดี ที่ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีวิธีป้องกันที่เฉพาะเจาะจง และต้องอาศัยการสังเกต ซึ่งควรได้รับความร่วมมือจากคนรอบข้าง เช่น ครอบครัว หรือเพื่อน และสำคัญที่สุดคือตัวของผู้ป่วยเองที่ควรหมั่นสังเกตอาการ และดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ดี เช่น 

หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัว เริ่มมีภาวะสิ้นยินดี ไม่ยินดี ยินร้าย กับความสุขและความทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าละเลยหรือมองข้าม ควรรีบขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และค้นหาความสุขของตนเองได้ในที่สุด

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
Location & Google Map: ติวานนท์ 39
Website: bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม