3 วิธีรับมืออาการแพนิคกำเริบด้วยตัวเอง

Share

อาการแพนิคกำเริบ (Panic Attack) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก เหงื่อออก ตัวสั่น รู้สึกเหมือนจะตาย หรือกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งตื่นตระหนกและอาการแย่ลง

อาการของแพนิคกำเริบ มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกใจไม่ดี หงุดหงิดกระวนกระวาย ก่อนที่จะเกิดอาการแพนิคกำเริบ ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกว่า

อาการกำลังจะกำเริบ ให้ปฏิบัติตาม ดังนี้

  1. หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
  2. พกยาที่แพทย์ให้ติดตัวไว้ และกินเมื่ออาการเป็นมาก
  3. ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกต่าง ๆ ที่ช่วยให้มีความสุข เพื่อเลี่ยงไม่ให้ตัวเองจดจ่อกับอาการแพนิค

อย่างไรก็ตาม อาการแพนิคกำเริบ มักจะหายไปเองภายใน 5-10 นาที แต่บางครั้งอาจจะใช้เวลานานถึง 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง

แต่หากมีความกังวลใจหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวางแผนแก้ไขในอนาคต

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม