ภาวะศพเดินได้ เมื่อจิตใจหลอกลวงร่างกายว่าตายแล้ว

Share

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ทั้งที่ยังเดินได้ ทำงานได้ตามปกติ นี่อาจฟังดูเหมือนเรื่องราวในหนังสยองขวัญ แต่ความจริงแล้วมันคือโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า ภาวะศพเดินได้ (Walking Corpse Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีความเชื่อผิดๆ ว่าตนเองตายแล้ว ร่างกายเน่าเปื่อย หรือไม่มีอยู่จริง

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า ภาวะศพเดินได้ (Walking Corpse Syndrome) เป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้ไม่บ่อย ซึ่งผู้ป่วยจะมีความเชื่อผิดๆ ว่าตนเองตายไปแล้ว ไม่มีตัวตน หรือร่างกายกำลังเน่าเปื่อย ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้ารุนแรง หรือโรคจิตบางประเภท และอาจพบร่วมกับภาวะทางระบบประสาทอื่นๆ

อาการของผู้ป่วยมีความใกล้เคียงกับอาการโรคซึมเศร้า เช่น มีความเครียด วิตกกังวล  เข้าสังคมน้อยลง เก็บตัว เพราะคิดว่าตัวเองกำลังจะตายหรือตายไปแล้ว จึงสูญเสียความต้องการใช้ชีวิต ไม่กินอะไร ว่างเปล่า ไม่ทำอะไร บางคนอาจได้ยินเสียงแว่วหรือเสียงหลอน  และมีความคิดทำร้ายตัวเอง 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุภาวะศพเดินได้ที่แน่ชัด แต่อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะนี้ได้แก่ 

  1. ความผิดปกติของสมอง: โดยเฉพาะความผิดปกติในส่วนที่ควบคุมการรับรู้ตนเอง การตัดสินใจ และการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์
  2. ภาวะซึมเศร้าหรือจิตเภท: ภาวะศพเดินได้มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง หรือมีโรคจิตเภท ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีอาการหลงผิด
  3. การบาดเจ็บทางสมอง: ในบางกรณี ผู้ป่วยที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะศพเดินได้

ภาวะศพเดินได้ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ เนื่องจากภาวะนี้มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเข้าใจความคิดและการรับรู้ของผู้ป่วย นอกจากนี้ อาจมีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การเจาะเลือด หรือ การตรวจสแกนสมองเพื่อประเมินสมองของผู้ป่วย เพื่อพยายามหาสาเหตุ

การรักษาภาวะศพเดินได้มักขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสภาพจิตใจของผู้ป่วย ดังนี้ 

ถึงแม้ภาวะศพเดินได้ จะเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสม และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 30, 2024
เช็กให้ดี คุณมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า?

ย้ำคิดย้ำทำ เป็นคำที่ถูกเอามาใช้ในบริบทต่างๆ ค่อนข้างมาก มักใช้เรียกพฤติกรรมการคิดและการกระทำซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ในชีวิตประจำวัน

ตุลาคม 25, 2024
เคล็ด(ไม่)ลับบำบัดความเครียด

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ในชีวิตประจำ แต่การรับมือกับความเครียดเป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนกันได้ โดยการฝึกสติและสมาธิ

ตุลาคม 25, 2024
อาหารจานเด็ด เสิร์ฟความสุขได้ 

อาหารแต่ละอย่างที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ไม่ได้แค่ให้พลังงานแก่ร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเราอีกด้วย

บทความเพิ่มเติม