ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดหรืออาจเกิดขึ้นช้ากว่านั้น โดยอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็วในร่างกาย ความเครียดจากการดูแลลูกน้อย การเปลี่ยนแปลงของชีวิตประจำวัน การขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ปัญหาทางด้านสังคม หรือแม้แต่การที่คุณแม่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าอาจเป็นซึมเศร้าหลังคลอด
ได้แก่
- อารมณ์แปรปรวน: รู้สึกเศร้า เสียใจ หงุดหงิด โกรธง่าย
- ความวิตกกังวล: กังวลเกี่ยวกับลูกน้อย หรืออนาคต
- ความรู้สึกผิด: รู้สึกว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน: นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน: กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
- ขาดความสนใจ: ไม่มีความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
- รู้สึกเหนื่อยล้า: แม้จะพักผ่อนเพียงพอ
- ความคิดทำร้ายตนเอง: ในกรณีที่รุนแรง
สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม หากมียาที่ต้องรับประทานควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือพูดคุยกับคุณแม่ท่านอื่นๆ ที่เคยประสบปัญหาเดียวกันก็จะช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและได้รับกำลังใจมากขึ้น
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH