เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต

Share
ผู้ชายมีความเครียดจากการทำงานหนักมากเกินไป

สภาพสังคม เศรษฐกิจ ความกดดัน ความเร่งรีบ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยจำนวนมากเผชิญกับ ‘ความเครียด’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บ้างก็รู้ตัว บ้างก็ไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นคนคิดมากและวิตกกังวลกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจนยากเกินจะเยียวยา การเข้าใจและรู้เท่าทันความเครียดจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ความเครียดคืออะไร ? รู้ไว้ จัดการได้ถูกวิธี

ความเครียดหรือ Stress คือ ภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้รู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น และเมื่อบุคคลนั้นรับรู้ว่าสถานการณ์นั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย จะส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเสียสมดุล และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงแรกที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้ ย่อมหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เพราะความเครียดจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุล ต่อมใต้สมองจึงสั่งการให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่าคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย อีกทั้งยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ส่งผลให้บางคนมีอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรังอย่างโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคอ้วน

2. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์

การหมกมุ่นกับอะไรบางอย่าง รวมทั้งอยู่ในสภาวะที่ถูกกดดัน มักส่งผลกับจิตใจและอารมณ์โดยตรง คนที่มีความเครียดมักสนใจแต่สิ่งที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ ไม่สนใจบุคคลรอบข้างและสิ่งรอบตัว ใจลอย โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ เซื่องซึม วิตกกังวล ไม่สามารถจัดการชีวิตของตัวเองได้ตามปกติ นำไปสู่การเกิดโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อีกทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่หลั่งออกมามากผิดปกติ ยังส่งผลให้เซลล์ประสาทฝ่อและลดจำนวนลง จึงส่งผลกระทบต่อสมองส่วนความจำและสติปัญญา ทำให้ความจำสั้น เป็นผลเสียต่อการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

3. การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม

ผลกระทบข้อสุดท้าย เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมหรือการแสดงออกที่เปลี่ยนไป เช่น หิวตลอดเวลา เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปลีกตัวออกจากผู้อื่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง แสดงออกต่อบุคคลรอบข้างด้วยความก้าวร้าว ความอดทนลดลง อาละวาด ขว้างปาข้าวของ ทำร้ายตัวเอง ชอบดึงผม กัดเล็บ หรืออาจไปข้องแวะกับยาเสพติด ตลอดจนหลงผิดและฆ่าตัวตายด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

จากผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่กล่าวถึงไปข้างต้น แสดงให้เห็นว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องเล็ก หากกำลังเผชิญอยู่ ควรหาแนวทางการรับมืออย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นอาการเรื้อรังและส่งผลเสียต่อสุขภาพกายใจในระยะยาว

สาเหตุของความเครียด

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจเพื่อรับมือกับภาวะความเครียด จำเป็นต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมีอะไรบ้าง อาจสามารถแบ่งได้ 2 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน

หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและจิตใจ เช่น การป่วยด้วยโรคทางจิตเวช หรือบุคลิกภาพส่วนตัวที่ส่งผลให้มีความหมกมุ่นและความกังวลมากเกินไป

2. ปัจจัยภายนอก

หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกเครียด ซึ่งปัจจัยภายนอกที่พบโดยทั่วไป ได้แก่

ผู้ชายมีความเครียดจากการทำงานหนักมากเกินไป

7 สัญญาณ บ่งบอกชัด ร่างกายกำลังเครียด

นอกเหนือจากผลกระทบจากความเครียดที่เรากล่าวถึงกันไปข้างต้น ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะเหล่านั้น ร่างกายมักจะส่งสัญญาณเตือนบางอย่าง เพื่อฟ้องว่าคุณกำลังเครียด โดยสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากอาการเหล่านี้

แนวทางจัดการกับความเครียดอย่างถูกวิธี

หากคุณกำลังเผชิญกับสิ่งที่คิดไม่ตก รู้สึกเครียดตลอดเวลา แล้วไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไรดี ในเบื้องต้นสามารถจัดการอารมณ์ได้ด้วยแนวทางง่าย ๆ ดังนี้

เครียดแค่ไหนถึงควรไปพบแพทย์ ?

ปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็เจอแต่คนที่บอกว่าตัวเองเครียด แล้วต้องเครียดระดับไหนจึงควรไปปรึกษาแพทย์ ? คำตอบคือหากคุณมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมติดต่อกันมากเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือรู้สึกว่ามีความคิดบางอย่างรบกวนจิตใจจนกระทบชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนจะลุกลามและกลายเป็นโรคเรื้อรัง

โรคเครียดรักษายังไงได้บ้าง ?

หากรู้สึกเครียดตลอดเวลา ร่วมกับมีอาการอื่นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อย่าปล่อยไว้ คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ เพียงแค่เข้าใจและรับมือกับภาวะนี้อย่างถูกวิธี นอกจากจะเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมแล้ว ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี เรามีนักจิตวิทยาคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณผ่านช่วงเวลาแห่งความไม่สุขสบายใจได้อย่างราบรื่นและอบอุ่นใจ

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทรศัพท์: 02-589-1889

LINE Official Account: @bmhh

Location & Google Map: ติวานนท์ 39

Website: bangkokmentalhealthhospital.com

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ความเครียดคืออะไร ผ่อนคลายอย่างไรดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 จาก https://www.thaihealth.or.th/ความเครียดคืออะไร-ผ่อนค/

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมท็อกซิกในความสัมพันธ์ ทำให้คนทะเลาะกัน
มกราคม 16, 2025
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ

รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

สัญญาณเตือนที่ควรพบจิตแพทย์
มกราคม 16, 2025
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้

จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์

มกราคม 14, 2025
โรคซึมเศร้ากับการฝึกสติ

โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการเศร้าเกือบทั้งวัน เป็นติดต่อกันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์

บทความเพิ่มเติม