ข้อแนะนำในการดูแลและรับมือเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

Share
วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้น อยู่นิ่งไม่ได้

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูก ๆ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) อาจจะต้องมีวิธีการรับมือที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป เพื่อที่จะปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีรับมือเด็กสมาธิสั้นยังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย ผู้ปกครองจึงควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด

เช็กอาการลูกเราเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่หรือเปล่า ?

ที่จริงแล้วโรคสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นโรคที่ถูกกล่าวถึงและค้นพบมามากกว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่มีสมาธิหรือจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่สามารถอยู่นิ่งหรืออยู่กับที่ได้นาน ๆ ทำให้เป็นเด็กซน ไม่อยู่นิ่ง สร้างความเครียดให้แก่ผู้ที่เลี้ยงดู

พ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าอาการของโรคสมาธิสั้นเป็นธรรมชาติของเด็ก ๆ หลายคนจึงแก้ปัญหาด้วยการยื่นแท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟน เพื่อให้เด็กจดจ่อและอยู่นิ่งมากขึ้น และนั่นทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ว่าลูกของเรามีอาการโรคสมาธิสั้นอยู่หรือเปล่า เพื่อที่จะดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เป็นโรคที่เรื้อรังไปจนถึงในวัยทำงาน โดยอาการของโรคสมาธิสั้นมักจะเกิดก่อนช่วงอายุ 12 ปี และกินเวลาต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน

อาการของโรคสมาธิสั้น

วัยอนุบาล

วัยประถม

วัยมัธยม

เมื่อไรที่ต้องพาไปพบแพทย์ ?

หากพบว่าเด็ก ๆ ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใด ๆ ได้นาน ๆ ซน และไม่อยู่นิ่ง เรียนไม่ดี ชอบฝ่าฝืนกฎระเบียบเป็นประจำ มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม แนะนำให้พามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะโรคสมาธิสั้นยิ่งรักษาในช่วงอายุน้อยเท่าไร ก็มีโอกาสในการหายไวมากขึ้นเท่านั้น

พ่อแม่ใช้พลังบวกเป็นวิธีรับมือลูกสมาธิสั้น

วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้นของพ่อแม่และผู้ปกครอง

พ่อแม่และผู้ที่อยู่รอบตัวเด็ก ๆ จะต้องทำความเข้าใจอาการและวิธีการรับมือ เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมและช่วยบรรเทาอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีคำแนะนำและข้อควรระวังดังต่อไปนี้

คำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

ข้อควรระวังสำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น

หากพบว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่านิ่งนอนใจและอย่าปล่อยไว้ไปจนถึงตอนโต เพราะอาจกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตและเข้าสังคม ควรรักษาให้หายได้ตั้งแต่วัยเด็ก สามารถนัดหมายและปรึกษากับทีมจิตแพทย์ได้ที่ Bangkok Mental Health Hospital โรงพยาบาลที่ให้การรักษาด้านโรคจิตเวช ดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต ดูแลด้วยความใส่ใจอยู่เคียงข้างผู้รับบริการ พร้อมให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมให้แก่พ่อแม่ ครอบครัว โรงเรียน ร่วมกันปรับพฤติกรรมเด็ก ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทรศัพท์: 02-589-1889

LINE Official Account: @bmhh

Location: https://maps.app.goo.gl/MCKXwQMK1mCshWKdA

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม