
อาการป่วยทางใจ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ มีโอกาสเป็นได้กับทุกคน และอาการป่วยทางจิตใจนี้ ก็ไม่ได้มีเฉพาะโรคที่หลายคนคุ้นชินกันอย่างโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคหลายบุคลิกเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว อาการทางจิตใจ มีความซับซ้อนและหลากหลายกว่าที่คิด รวมถึงไป 2 คำที่คุ้นหูอย่าง โรคจิตเภทและโรคจิตเวช แล้วโรคจิตเภทกับโรคจิตเวชต่างกันอย่างไร โรคแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการรับมืออย่างถูกวิธี บทความนี้มีคำตอบ
โรคจิตเวชคืออะไร มีอะไรบ้าง
โรคจิตเวช คือปัญหาที่เกี่ยวกับด้านจิตใจ เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ควบคุมเรื่องความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางจิตใจที่กระทบต่อพฤติกรรม ความคิด และการใช้ชีวิต ประจำวัน การเข้าสังคมกับคนรอบข้าง โดย 8 กลุ่มโรคจิตเวชที่จำแนกตามระบบการวินิจฉัยโรค มีดังต่อไปนี้
1. ความผิดปกติที่เป็นผลจากโรคทางกาย
เกิดจากโรคทางสมองที่ก่อให้เกิดการเสื่อมเรื้อรัง ทำให้สมองทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะด้านความจำ ความคิด การรับรู้เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ การคำนวณ ภาษา และการตัดสินใจ เช่น โรคหลงลืม
2. ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมจากการใช้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
เกิดจากการได้รับสารกระตุ้นที่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาท เช่น สุรา ยาเสพติด คาเฟอีน ปริมาณมากต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ส่งผลให้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการรับรู้มีความผิดปกติ จึงควรได้รับการบำบัดอย่างจริงจัง
3. ความผิดปกติทางจิต (Psychotic Disorder)
ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตมักมีอาการเห็นภาพหลอน หูแว่ว หลงผิด คิดไปเอง หวาดระแวงในสิ่งที่ไม่มีจริง เกิดจากความผิดปกติด้านการรับรู้ เช่น โรคจิตเภท โรคจิตหวาดระแวง
4. ความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder)
อาการหลัก ๆ ของโรคจิตเวชกลุ่มนี้คือ มีอารมณ์แปรปรวน เศร้าหรือร่าเริงผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ตัวอย่างโรคที่รู้จักกันดี ได้แก่ โรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) โรควิตกกังวลและแพนิค
5. ความผิดปกติทางพฤติกรรม
แสดงออกมาทางพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorder) มีอาการทั้งกินมากเกินไปและกินน้อยเกินไป หรือโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
6. ความผิดปกติทางพฤติกรรมและบุคลิก
ผู้ป่วยโรคจิตเวชประเภทนี้ จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างชัดเจน ทั้งพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หุนหันพลันแล่น ความคิดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และกลัวการถูกทอดทิ้ง
7. ความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ
เป็นภาวะที่ความสามารถในการนึกคิด ใช้เหตุผล วางแผน แก้ปัญหา การปรับตัว และการตัดสินใจเกิดความบกพร่อง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้สติปัญญาดำเนินชีวิตประจำวัน
8. ความผิดปกติในด้านพัฒนาการ
มักเกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก เนื่องจากเป็นภาวะที่พัฒนาการมีความผิดปกติ แบ่งย่อยได้เป็นหลายประเภท เช่น ความผิดปกติด้านการพูด การเข้าใจภาษา พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น

รู้จักสาเหตุและอาการของโรคจิตเภท
เมื่อเห็นแล้วว่าโรคจิตเวชมีอะไรบ้าง ต่อไปก็มาถึงโรคจิตเภทซึ่งถือเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่งกันบ้าง โรคนี้เป็นภาวะที่สมองมีความผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดหรือการรับรู้ที่ไม่เหมือนคนทั่วไป เช่น หลงเชื่อผิด ๆ ว่าจะมีคนมาทำร้าย รวมถึงสัมผัสผิดปกติ มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน เกิดได้ทั้งในวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักด้วยกัน
สาเหตุของโรคจิตเภท
- ปัจจัยภายใน : ความผิดปกติทางสมองที่สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธ์ุ
- ปัจจัยภายนอก : ความเครียดในชีวิตประจำวันที่ต่อเนื่องหรือรุนแรง สภาพแวดล้อม การถูกตำหนิอย่างรุนแรง การใช้สารเสพติด
อาการของโรคที่ควรรู้
อาการที่พบโดยทั่วไปของโรคนี้ คือความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลให้การแสดงออกผิดปกติ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ อาการที่มากกว่าคนทั่วไป และอาการที่บกพร่องกว่าคนทั่วไป โดยแต่ละอาการมีรายละเอียดดังนี้
- อาการที่มากกว่าคนทั่วไป : ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูด ยิ้ม หรือหัวเราะคนเดียว เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง คิดว่ามีคนจะมาทำร้าย
- อาการที่บกพร่องกว่าคนทั่วไป : พูดน้อยลง ซึม เก็บตัว ไม่อยากพบปะใคร นอนไม่หลับ ไม่สนใจหรือใส่ใจจะทำกิจกรรมใด ๆ ไม่แสดงออกทางสีหน้า
สรุปชัด โรคจิตเภทกับโรคทางจิตเวช เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
สรุปได้ว่า โรคจิตเภทเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มของความผิดปกติทางจิต (Psychotic Disorder) ควรได้รับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว
รู้เท่าทันอาการทางจิตเวช สังเกตคนรอบข้างและให้การดูแลได้ เพียงทำความเข้าใจในอาการที่พวกเขาเป็น สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษา หรือพาผู้ป่วยโรคจิตเภทมารับคำแนะนำและวางแผนการรักษาอยากถูกวิธีจากจิตแพทย์ สามารถมาได้เลยที่ Bankok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีพาคุณก้าวข้ามช่วงเวลาแห่งความไม่สุขสบายได้อย่างราบรื่นและพร้อมอยู่เคียงข้างในทุกสถานการณ์
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
บทความที่เกี่ยวข้อง

ADHD ในผู้ใหญ่: เมื่อสมาธิสั้นไม่ได้มีแค่ในเด็ก
หลายคนอาจเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder) เป็นปัญหาที่พบเฉพาะในเด็กเท่านั้น

ข้อแนะนำในการดูแลและรับมือเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่
สำหรับพ่อแม่ที่มีลูก ๆ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Defi […]

วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่คุณเองก็ทำตามได้
โรคจิตเภท อาการป่วยทางใจที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทว่าก็ […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH