ติดพนัน กับดักชีวิต รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

Share
ติดพนัน

การพนันเปรียบเสมือบกับดักชีวิตที่ทำให้บางคนหลงผิด หรือบางคนอาจหมดตัว และอาจส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ ในหลายมิติ เช่น กระทบความสัมพันธ์ครอบครัว คนรัก และเพื่อน ซึ่งถ้าหากมีสัญญาณเหล่านี้ เช่น ไม่สามารถควบคุมการเล่นพนันได้ , กระวนกระวายใจเมื่อพยายามหยุดหรือลดการเล่น , อยากเอาชนะ อยากเอาคืนเมื่อเสียพนัน และยืมเงินผู้อื่นมาจ่ายค่าพนัน แนะนำมาให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพูดคุยหรือเข้ารับการรักษา

สำหรับการรักษา โรค ติดพนัน แบ่งเป็น 3 แนวทางคือ

  1. การรักษาด้วยยา (Medication) – ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคติดการพนันด้วยยา แต่อย่างไรก็ตามการได้ยากลุ่มยาลดความกังวล ยาต้านเศร้า สามารถช่วยรักษาปัจจัยในการเล่นการพนันให้ลดลงได้ ซึ่งทำให้การหยุดเล่นการพนัน หรือการหายจากโรคนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น
  2. การทำจิตบำบัด (Psychotherapy) – ใช้หลักการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Cognitive Behavioral Therapy; CBT) เพื่อแก้ปัญหาการเล่นการพนัน ใช้หลักการพูดคุยเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interview) เพื่อช่วยจัดการความลังเลใจในการหยุดเล่นการพนัน
  3. การทำจิตบำบัดแบบกลุ่ม – เป็นการนำคนที่มีปัญหาเรื่องการพนันแล้วต้องการหยุดการพนันมาพูดคุยกัน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ วิธีการต่าง ๆ ในการหยุดการพนัน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้การหยุดการพนันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคติดการพนัน ต้องใช้ความร่วมมือของตัวผู้ป่วยและญาติ เพื่อผลการรักษาที่ดี โดยญาติสามารถพูดให้กำลังใจเมื่อสามารถลดหรือเลิกการพนันได้ ที่สำคัญคือห้ามต่อว่า, และแนะนำให้ชวนกันไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น ออกกำลังกาย กินอาหาร หรือช็อปปิ้ง รวมไปถึงช่วยปรับโครงสร้างหนี้

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

มิถุนายน 27, 2024
เช็กลิสต์อาการ PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)

คนที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงหรือสะเทือนใจ เช่น ทหารที่ผ่านการทำสงคราม ผู้ประสบภัยพิบัติ คนที่เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกข่มขืน

มิถุนายน 27, 2024
ขี้กังวลไปหมดทุกเรื่อง อาจเข้าข่าย  “โรควิตกกังวลทั่วไป”

ปัจจุบันทุกคนต้องเผชิญกับความวิตกกังวล  ความเครียด จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การสอบ เป็นต้น

มิถุนายน 25, 2024
โรคจิตหลงผิดภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ

การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด”

บทความเพิ่มเติม