หากมีความคิดซ้ำ ๆ หมกมุ่น ไม่สามารถหยุดคิดได้ หรือ มีพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวช ที่สามารถพบได้ในทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก โดยพบได้ประมาณ 1.2% ของประชากร
โรคย้ำคิดย้ำทำมีองค์ประกอบ 2 อย่าง
- อาการย้ำคิด (Obsession) คือ มีความคิดหมกมุ่นที่ควบคุมไม่ได้ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ไม่สามารถหยุดคิดได้ ถึงแม้ว่าตัวเองจะรู้ว่าความคิดนั้นจะไม่สมเหตุสมผล ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกินจริง เช่น กลัวเชื้อโรค, หมกหมุ่นกับความเป็นระเบียบ หรือ ความสมมาตร, กลัวสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นต้น
- อาการย้ำทำ (Compulsion) คือ การทำพฤติกรรมต่าง ๆ หรือ การคิดในทางตรงข้าม เพื่อพยายามลดความวิตกกังวลจากการย้ำคิด เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำ ๆ, ตรวจสอบปลั๊กไฟ หรือ เตาอบซ้ำ ๆ อาการย้ำคิด-ย้ำทำ อาจพบร่วมกับความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น ขยิบตาบ่อย ๆ ยักไหล่ กระตุกศีรษะหรือไหล่ หรือส่งเสียงผิดปกติ เช่น กระแอม คำราม หรือ พูดคำหยาบโดยควบคุมไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคย้ำคิดย้ำทำ
- มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- อายุ อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ มักเริ่มเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น หรือ ช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
- พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคนี้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น โดยยิ่งถ้าญาติสายตรงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำตั้งแต่เด็ก หรือ วัยรุ่น ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
- สิ่งแวดล้อม เช่น หากได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจในวัยเด็ก ก็อาจเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดอาการย้ำคิดย้ำทำได้
- ช่วงตั้งครรภ์ และระยะหลังคลอด จะพบอุบัติการณ์ของโรคย้ำคิดย้ำทำได้มากขึ้น โดยอาการมักเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูก หรือการวิตกกังวลว่าตนเองจะดูแลลูกไม่ดีพอ
ถึงแม้ว่าโรคย้ำคิดย้ำทำ จะไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากมีอาการลักษณะนี้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ การใช้ยาร่วมกับ การทำจิตบำบัด ซึ่งมักจำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อยประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผล
นพ. ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
เลี้ยงลูกอย่างไรให้พร้อมเผชิญทุกสถานการณ์
โลกใบนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน หากต้องการให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแกร่งและสามารถเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พักผ่อนแบบไหนถึงจะดีต่อใจ
การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเราอย่างมาก โดยพบว่าการการขาดการนอนหลับเรื้อรัง
ภาวะศพเดินได้ เมื่อจิตใจหลอกลวงร่างกายว่าตายแล้ว
เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ทั้งที่ยังเดินได้ ทำงานได้ตามปกติ นี่อาจฟังดูเหมือนเรื่องราวในหนังสยองขวัญ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH