พฤติกรรมผิดปกติ ความคิดสับสน อาการเข้าข่ายโรคจิตเภท

Share
พฤติกรรมผิดปกติ ความคิดสับสน อาการเข้าข่ายโรคจิตเภท

คำว่า “โรคจิต” หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยไม่อยู่กับความเป็นจริง และแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. อาการหลงผิด เป็นความเชื่อแบบฝังแน่น ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้จะมีเหตุผลหรือหลักฐานมาแย้ง เช่น หลงผิดคิดว่าตัวเองถูกปองร้ายกลั่นแกล้ง, หลงผิดคิดว่าตัวเองมีอำนาจ มีความสามารถพิเศษ หรือเป็นบุคคลสำคัญ โดยจะแบ่งเป็นการหลงผิดในลักษณะที่แปลกประหลาดเป็นไปไม่ได้ เช่น เชื่อว่าความคิดของตัวเองกระจายออกนอกตัวทำให้คนรอบข้างรู้หมดว่าคิดอะไร หรือการคิดว่ามีแมลงอยู่ในท้อง และการหลงผิดแบบไม่แปลกประหลาดเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น คิดว่าหัวหน้ากลั่นแกล้ง
  2. อาการประสาทหลอน เป็นการรับรู้โดยปราศจากสิ่งเร้าภายนอก ชนิดที่พบบ่อย คือ หูแว่ว อาการประสาทหลอนชนิดอื่นที่อาจพบได้ เช่น ประสาทหลอนทางกลิ่น การสัมผัส ภาพหลอน
  3. อาการความคิดสับสน ผู้ป่วยไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตลอด แสดงออกโดยการพูดจาสนทนา โดยเป็นมากจนไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความคิดไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องโดยขาดความเชื่อมโยง หากเป็นมากการพูดจะสับสนจนไม่รู้ว่าผู้ป่วยกำลังสื่ออะไร
  4. อาการพฤติกรรมผิดปกติ เป็นพฤติกรรมที่ใคร ๆ ก็เห็นได้ชัดว่าไม่สมเหตุผล ไม่มีจุดมุ่งหมาย เช่น สวมเสื้อผ้าหลายตัวทั้งที่อากาศร้อน หัวเราะโดยไม่มีเหตุผล อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหววุ่นวายอย่างคาดเดาไม่ได้
  5. อาการด้านลบ เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ พูดน้อย ถามตอบช้า การแสดงออกด้านอารมณ์ลดลง ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา ไม่มีความสุขทั้งที่มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น เก็บตัว

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น สมาธิแย่ลง การตีความสิ่งต่าง ๆ และการตอบสนองบกพร่องไป ความจำบกพร่อง หงุดหงิด ก้าวร้าว โดยการวินิจฉัยจิตแพทย์จะประเมินจากการที่ผู้ป่วยมีลักษณะอาการอย่างน้อย 2 ข้อขึ้นไป ระยะเวลานานกว่า 1 เดือน และอาการมีความรุนแรงจนส่งผลเสียต่อระดับความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตัวเอง

การรักษามีตั้งแต่การกินยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้านจิตสังคม รวมถึงการเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยใน ซึ่งจะใช้ในกรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น, มีอาการข้างเคียงรุนแรงการยา, และเพื่อควบคุมการกินยาหากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการกินยา

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 23, 2024
Social Detox  เพื่อชีวิตที่สมดุล

คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า

ธันวาคม 23, 2024
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด

ธันวาคม 23, 2024
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย

บทความเพิ่มเติม