การดื่มแอลกฮอล์ หรือ สุรา คนมักนิยมดื่มเพื่อความผ่อนคลาย สนุกสนาน และเข้าสังคม แต่ใครจะรู้ว่า หากดื่มแอลกอฮอล์มากเกิน อาจจะส่งผลให้กลายเป็นคนเสพติดแอลกอฮอล์, มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง คนรอบข้าง จากการขาดสติ และเพิ่มโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าถึง 4 เท่าหากเทียบกับคนทั่วไป
4 ผลกระทบการดื่มแอลกอฮอล์กับความเจ็บป่วยทางจิตเวช
- บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เนื่องจากคนที่เสพติดแอลกอฮอล์จะใช้เวลาไปกับการเสาะหาแอลกอฮอล์มาดื่ม ทำให้สูญเสียความสามารถในการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ลดลง
- ความผิดปกติทางอารมณ์และโรควิตกกังวล หลายครั้งที่คนเลือกดื่มแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ผ่อนคลายจากความเครียดวิตกกังวล ในทางกลับกันการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะซึมเศร้า 4 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป
- พฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำให้อารมณ์ไม่ดี รู้สึกหมดหวัง
- อาจมีอาการได้ยินเสียงหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอนจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเสียงอาจเป็นเนื้อหาแนวตำหนิ หรืออาจเป็นการขู่ทำร้าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ อยู่ไม่สุข กระวนกระวายจากอาการที่เป็นได้ โดยอาการเหล่านี้อาจเป็นต่อเนื่องหลายเดือนหลังจากหยุดดื่มแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตามการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตเวชจากปัญหา ติดแอลกอฮอล์ ขอให้สังเกตอาการตัวเองหรือคนรอบข้าง ว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ เช่น อาการได้ยินเสียงหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน ขาดความยับยั้งชั่งใจ ทำให้อารมณ์ไม่ดี รู้สึกหมดหวัง แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อทำการประเมินอาการและทำการรักษาที่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยในแต่ละคน
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH