“สมาธิสั้น” ไม่ใช่แค่ซนปกติ มีผลกระทบต่ออนาคตชีวิตของลูก

Share

พ่อแม่หลายคนคงประสบปัญหาพฤติกรรมลูกซน อยู่ไม่นิ่ง ลืมง่าย ไม่สามารถตั้งใจทำอะไรต่อเนื่องได้นาน วอกแวกง่าย  โดยธรรมชาติของเด็กทั่วไปอาจมีพฤติกรรมเหล่านี้ แต่มีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความบกพร่องของพัฒนาการสมองส่วนหน้า ทำให้ปัญหาเหล่านี้ เป็นมากกว่าความซนปกติทั่วไป อาการเหล่านี้อาจเข้าข่ายโรคสมาธิสั้นที่พบบ่อยในเด็ก ผลกระทบทำให้มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กไม่รับผิดชอบ ไม่ตั้งใจเรียน ดื้อ เกเร หรือก้าวร้าว  ควรรีบมาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมินอาการ หากพบปัญหาจะได้รับคำปรึกษาในแนวทางการแก้ไขรักษาก่อนสายเกินไปจนส่งผลกระทบในอนาคตทั้งปัญหาพฤติกรรมการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ 

แพทย์หญิงวรรณพักตร์  วิวัฒนวงศา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคสมาธิสั้น หรือ ภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ) เป็นโรคที่อาการจะปรากฏให้เห็นตั้งแต่เล็กๆ และมีการดำเนินโรคเรื้อรังเป็นเวลาหลายปี โดยพบว่าสมาธิสั้นร้อยละ 60-85 ยังมีอาการอยู่ในช่วงเข้าวัยรุ่น และร้อยละ 40 – 50 ยังมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ โรคสมาธิสั้นมีอัตราความชุกประมาณ ร้อยละ 5 – 10  โดยพบในเพศฃายบ่อยกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 3:1 

โดยโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี จึงทำให้เด็กซน อยู่ไม่นิ่ง ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่และผู้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก จึงควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นและแนวทางการรักษา โดยวิธีต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป

อาการของโรคสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำงานของสมองที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใน 3 ด้านหลัก 

สาเหตุของโรคสมาธิสั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันโดยมีปัจจัยหลัก ได้แก่ 

  1. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม  หากพบว่าพ่อแม่หรือพี่น้องมีประวัติเป็นโรคสมาธิสั้น ทำให้ลูกมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นมากกว่าคนปกติทั่วไปถึง 4-5 เท่า
  2. ปัจจัยทางด้านระบบประสาท กลไกความผิดปกติหลักเกิดจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของสารสื่อประสาทคือ โดพามีน (Dopamine) และ นอร์เอพิเนฟริน(Norepinephrine) ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการบริหารจัดการและการควบคุมตนเอง จึงทำให้เด็กมีความบกพร่องในการควบคุมสมาธิการแสดงออกของพฤติกรรมและการจัดลำดับความสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ
  3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก ได้แก่ การที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ หรือการคลอดซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เช่น คลอดก่อนกำหนด ได้รับสารตะกั่ว อุบัติเหตุของสมอง และพบว่ามารดาที่สูบบุรี่ ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดในขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ทำให้ลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น
  4. ปัจจัยการเลี้ยงดู ซึ่งทำให้เด็กมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นมากขึ้น โดยการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ขาดระเบียบวินัย นอนดึก นอนน้อย และมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และโทรทัศน์เป็นเวลานาน จะทำให้เด็กขาดทักษะสังคมและการสื่อสาร รวมถึงอาจมีปัญหาพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดจากการเลียนแบบสิ่งที่ดูจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ โรคสมาธิสั้นมักพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น โรคการเรียนรู้บกพร่อง หรือ Learning disorder (LD) , ปัญหาพฤติกรรมดื้อต่อต้าน ไม่ทำตามสั่ง, โรคกล้ามเนื้อกระตุก (Tics) และโรควิตกกังวล

เมื่อผู้ปกครองพาเด็กมารับการประเมิน แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินสภาพจิต ร่วมกับสังเกตพฤติกรรมของเด็ก นอกจากนี้ จะขอให้ผู้ปกครองและคุณครูทำแบบประเมินอาการหรือพฤติกรรมของเด็กเพื่อให้ได้ฃ้อมูลเพิ่มเติม โดยอาจมีการส่งตรวจหรือการทำการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การทดสอบเฃาว์ปัญญาหรือทดสอบความสามารถของทักษะการเรียน เพื่อประเมินว่าเด็กมีความบกพร่องด้านสติปัญญาหรือด้านทักษะการเรียน ซื่งเป็นภาวะที่สามารถพบร่วมได้ในเด็กสมาธิสั้น

การรักษาโรคสมาธิสั้นที่ได้ผลดีที่สุด คือการใช้แนวทางรักษาแบบผสมผสานประกอบด้วย การรักษาด้วยยา จะทำให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบลง แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งผู้ปกครองต้องพาเด็กพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และกินยาตามที่แพทย์สั่ง, การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครู ในการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กมีการสร้างสมาธิ เช่น กำหนดตารางเวลากิจวัตรประจำวันให้เป็นระเบียบแบบแผน ให้เด็กมีกิจกรรมที่ต้องออกกำลังกาย หรือใช้แรงในทางสร้างสรรค์ เช่น ช่วยทำงานบ้าน ออกกำลังกาย 

ผู้ปกครองและครูจำเป็นต้องเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้นคืออะไรและรักษาอย่างไร เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กทั้งด้านการเรียนและการปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ไม่ลงโทษรุนแรงจนทำให้เสียสัมพันธภาพหรือเกิดผลกระทบอื่นๆตามมา ควรเข้าใจว่าพฤติกรรมและอาการที่เด็กแสดงออกมานั้น เป็นสิ่งที่เด็กไม่ได้ตั้งใจหรืออยากทำ แต่เป็นอาการของโรคที่ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ดี ผู้ปกครองและครูจึงควรให้ความเมตตาและให้อภัยเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และค่อยๆฝึกสอน ปรับพฤติกรรมเด็กต่อไป

ทั้งนี้พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น ควรรีบมาพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป 

แพทย์หญิงวรรณพักตร์  วิวัฒนวงศา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospita

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 5, 2024
หัวเราะจนขาดใจ? อันตรายของ “แก๊สหัวเราะ” ที่คุณควรรู้

เคยเห็นคนเป่าลมจากลูกโป่งสีสันสดใสแล้วหัวเราะคิกคักกันบ้างไหม? รู้หรือไม่ว่าลูกโป่งเหล่านั้นอาจบรรจุ "แก๊สหัวเราะ" หรือไนตรัสออกไซด์

สิงหาคม 29, 2024
5 วิธีพัฒนา Self esteem เพิ่มคุณค่าในตัวเอง

การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา บางคนอาจจะถูกผู้อื่นเปรียบเทียบ หรือเราเองไปเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ก็มี ซึ่งในทางบวกการเปรียบเทียบ

สิงหาคม 29, 2024
เบื้องหลังคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ทำตัวเด่น อาจเป็น “โรคฮิสทีเรีย”

ในชีวิตคนเราทุกคนล้วนพบเจอคนหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย หรือชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนรอบข้าง

บทความเพิ่มเติม