เกินกว่าความวิตกกังวล เมื่อ “โรคกลัวการแยกจาก” กลายเป็นอุปสรรคในชีวิต

Share

ทำไมเด็กบางคนถึงร้องไห้ฟูมฟายไม่ยอมไปโรงเรียน หรือผู้ใหญ่ทำงานไม่ได้เพราะคิดถึงลูกตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความดื้อรั้น แต่อาจเป็นอาการแสดงของ โรคกลัวการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) ซึ่งเป็นภาวะทางจิตที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังความกลัวที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก 

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคกลัวการแยกจาก (Separation Anxiety Disorder) เป็นภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวหรือมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องแยกจากบุคคลที่ตนรักหรือสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น กลัวว่าจะถูกทิ้ง กลัวว่าจะเกิดเรื่องร้ายแรงกับคนที่ตนรัก กลัวว่าตัวเองจะหลงทาง ซึ่งอาการกลัวการแยกจากพบบ่อยในเด็กเล็กที่อายุระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้ใหญ่เช่นกัน บางคนที่อาการรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น

โรคกลัวการแยกจากจะมีอาการดังต่อไปนี้ 

สาเหตุของโรควิตกกังวลจากการแยกจากกัน อาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พื้นอารมณ์ของเด็กที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ปัจจัยทางจิตใจและสิ่งแวดล้อม เช่น เหตุการณ์ความเครียดที่ทำให้ต้องแยกจาก พลัดพราก สูญเสียคนที่รัก การย้ายบ้านหรือเปลี่ยนโรงเรียน การถูกเลี้ยงดูในลักษณะปกป้องหรือประคบประหงมมากเกินไป สมาชิกในครอบครัวมีความวิตกกังวลหรือความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ และการที่เด็กไม่สามารถสร้างความผูกพันที่มั่นคงปลอดภัยกับพ่อแม่หรือผู้ดูแลได้

การรักษาโรคกลัวการแยกจาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวิธีการรักษาหลายวิธีได้แก่ 

อย่างไรก็ตาม โรคกลัวการแยกจาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่การเกิดโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ เช่น โรคแพนิก หรือ โรควิตกกังวล ดังนั้นหากสังเกตพบว่า บุตรหลานมีอาการวิตกกังวลมากจนเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้รีบมาพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม