นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

Share

หลายคนคงเคยมีอาการ นอนไม่หลับ กว่าจะหลับก็เกือบเช้า ทำให้ตื่นเช้ามารู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง และรู้สึกหงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนของโรคนอนไม่หลับ หากไม่รีบรักษาปล่อยไว้จนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ในอนาคต

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท รวมไปถึงใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะพบได้บ่อยในวัยทำงาน, ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีปัญหาเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ  ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นานๆ จนมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตที่อาจเพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

อาการนอนไม่หลับสามารถพบได้หลายรูปแบบ เช่น ต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้, หลับแล้วตื่นบ่อยๆ  ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน และมีอาการดังกล่าวเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนขึ้นไป 

ภาวะนอนไม่หลับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. หลับยาก (Initial insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ ภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
  2. หลับแล้วตื่นและไม่สามารถหลับตามที่ร่างกายต้องการได้อีก (Maintenance insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อย ภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  3. ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้ (Terminal insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า

อาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ได้แก่

การนอนไม่หลับเรื้อรังยังส่งผลด้านลบต่อสุขภาพกายและปัญหาสุขภาพจิต เช่น เพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า, เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน, เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และการขับรถ 

การรักษาภาวะนอนไม่หลับขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยแต่ละบุคคล เช่น หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง หรือหากเกิดจากโรคทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมในการรักษา 

สำหรับการป้องกันและแก้ปัญหาการนอนไม่หลับเบื้องต้น สามารถทำได้ โดยการจัดห้องให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการนอน, หลีกเลี่ยงการงีบในช่วงกลางวัน, เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกัน, นอนหลับเมื่อรู้สึกง่วง, หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือชา หลังอาหารเที่ยง, หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือโรคกรดไหลย้อนได้, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ควรใช้ยานอนหลับหากไม่จำเป็น แต่ถ้าทำทุกอย่างแล้วยังปรับการนอนไม่ได้ ควรมาพบแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อประเมินปัญหาการนอนไม่หลับ และเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม 

นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ 
จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 31, 2024
เลี้ยงลูกอย่างไรให้พร้อมเผชิญทุกสถานการณ์  

โลกใบนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน หากต้องการให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแกร่งและสามารถเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตุลาคม 31, 2024
พักผ่อนแบบไหนถึงจะดีต่อใจ  

การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเราอย่างมาก โดยพบว่าการการขาดการนอนหลับเรื้อรัง

ตุลาคม 30, 2024
ภาวะศพเดินได้ เมื่อจิตใจหลอกลวงร่างกายว่าตายแล้ว

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ทั้งที่ยังเดินได้ ทำงานได้ตามปกติ นี่อาจฟังดูเหมือนเรื่องราวในหนังสยองขวัญ

บทความเพิ่มเติม