โรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ร่าเริงสลับกับช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ระยะเวลาในแต่ละช่วงอาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนและไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน ครอบครัวและความสัมพันธ์กับผู้อื่น
อาการของโรคไบโพลาร์แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มอาการ Mania หรือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนานร่าเริง
- อารมณ์ดี คึกคัก ครื้นเครง
- พลังงานล้นเหลือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ปริมาณมาก
- ความคิดพรั่งพรู พูดมาก
- ไม่มีสมาธิ ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
- หุนหันพลันแล่น
- ไม่หลับไม่นอน
- ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. อาการช่วง Depression หรือ ซึมเศร้า
- รู้สึกเศร้า ไม่มีความหวัง ไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกผิด
- อ่อนเพลีย เสียความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบ
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ
- พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
- มีปัญหาการนอนหลับ
- มีความคิดอยากตาย
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการที่เข้าข่ายโรคอารมณ์สองขั้ว และมีอาการคงอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้า ยารักษาอาการทางจิต พร้อมกับทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิม
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลีย
จิตเวชศาสตร์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH