โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

Share

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และส่งเสริมการดูแลจิตใจให้กับทุกคน หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงอย่างมากในวันสุขภาพจิตโลกคือ “โรคซึมเศร้า” ที่นับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคลและสังคม

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่า ประมาณ 280 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 4% ของประชากรโลก และโรคนี้ยังมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายอีกด้วย

ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าก็เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ จากสถิติของกรมสุขภาพจิตเผยว่า คนไทยกว่า 1.5 ล้านคนกำลังประสบกับภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ ในกลุ่มอายุ 15-29 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับความใส่ใจและการดูแลอย่างใกล้ชิด

ถึงแม้การรับรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดและอคติอยู่มาก เช่น การมองว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงการคิดมากเกินไปหรือการขาดกำลังใจ ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่กล้าเปิดเผยตัวตนและไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ดังนั้น การยอมรับและเข้าใจว่าโรคซึมเศร้าเป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องการการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการลดอคติและสร้างสังคมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพจิตของทุกคน

ในปัจจุบัน โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ และมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น การรักษาด้วยยา, การทำจิตบำบัด การทำกิจกรรมบำบัด และการรักษาด้วย dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ในการที่จะปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้ โดยการรักษาด้วย dTMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันมีการนำ dTMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดเเละการกินยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรักษาให้ดีขึ้นอีกด้วย“โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง และมีจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การที่มีวันสุขภาพจิตโลกจึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และส่งเสริมให้ทุกคนมีความใส่ใจในสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง” แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์กล่าว

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์
โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ชายมีความเครียดจากการทำงานหนักมากเกินไป
มกราคม 16, 2025
เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต

ความเครียดเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตและชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมท็อกซิกในความสัมพันธ์ ทำให้คนทะเลาะกัน
มกราคม 16, 2025
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ

รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม

สัญญาณเตือนที่ควรพบจิตแพทย์
มกราคม 16, 2025
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้

จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์

บทความเพิ่มเติม