รีบสังเกตอาการ “ซึมเศร้าผู้สูงอายุ” ก่อนสายเกินไป

Share

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ แต่ในกรณีของผู้สูงอายุ ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่มากกว่า เนื่องจากมักถูกมองข้าม อาการของโรคซึมเศร้าอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ

สาเหตุหลักของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาจากการสูญเสียคนรัก ความท้าทายในชีวิตลดลง การเสียทักษะและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงความเหงาที่เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ทางสังคมลดลง และปัญหาสุขภาพร่างกายที่เข้ามาเสริมอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

  1. การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และความรู้สึก
    ผู้สูงอายุที่เป็นซึมเศร้าอาจมีอารมณ์เสีย รู้สึกเศร้า เหงา ความอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง หรือมีอารมณ์ด้านลบโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  2. การสูญเสียความสนใจในกิจกรรม
    ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอาจเริ่มสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนุกสนานหรือเพลิดเพลินมาก่อน เช่น ไม่อยากทำงานสวน หรือเลิกออกไปพบเพื่อน.
  3. การเปลี่ยนแปลงในการรับประทาน
    ผู้สูงอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงในนิสัยการรับประทานอาหาร หรือเบื่ออาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร
  4. การนอนไม่พอหรือการนอนมาก
    ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอาจประสบปัญหาในการหลับยาก ตื่นบ่อย หรือหลับมากเกินไป
  5. การเปลี่ยนแปลงในการเข้าสังคม
    เป็นลักษณะแยกตัวออกจากสังคม ผู้สูงอายุอาจจะรู้สึกว้าเหว่ เหมือนตัวคนเดียว ไม่มีใครเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว หรือ เพื่อน
  6. การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
    อาจมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ผู้สูงอายุมักมีร่างกายที่เสื่อมตามวัย หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้การดำเนินโรค และการพยากรณ์โรคทางกายแย่ลง เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง เช่น ไม่ยอมไปพบแพทย์ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
  7. มีความคิดอยากตายหรือพูดเรื่องความตาย
    อาจมีการคิดวิธีการฆ่าตัวตาย วางแผนจัดการมรดก ทรัพย์สินให้ทายาท ถ้ามีอาการเตือนเช่นนี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในผู้สูงอายุ ควรให้ความใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนให้มาพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 30, 2024
ภาวะศพเดินได้ เมื่อจิตใจหลอกลวงร่างกายว่าตายแล้ว

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ทั้งที่ยังเดินได้ ทำงานได้ตามปกติ นี่อาจฟังดูเหมือนเรื่องราวในหนังสยองขวัญ

ตุลาคม 30, 2024
เช็กให้ดี คุณมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า?

ย้ำคิดย้ำทำ เป็นคำที่ถูกเอามาใช้ในบริบทต่างๆ ค่อนข้างมาก มักใช้เรียกพฤติกรรมการคิดและการกระทำซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ในชีวิตประจำวัน

ตุลาคม 25, 2024
เคล็ด(ไม่)ลับบำบัดความเครียด

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ในชีวิตประจำ แต่การรับมือกับความเครียดเป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนกันได้ โดยการฝึกสติและสมาธิ

บทความเพิ่มเติม