โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ แต่ในกรณีของผู้สูงอายุ ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่มากกว่า เนื่องจากมักถูกมองข้าม อาการของโรคซึมเศร้าอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ
สาเหตุหลักของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาจากการสูญเสียคนรัก ความท้าทายในชีวิตลดลง การเสียทักษะและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงความเหงาที่เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ทางสังคมลดลง และปัญหาสุขภาพร่างกายที่เข้ามาเสริมอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และความรู้สึก
ผู้สูงอายุที่เป็นซึมเศร้าอาจมีอารมณ์เสีย รู้สึกเศร้า เหงา ความอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง หรือมีอารมณ์ด้านลบโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน - การสูญเสียความสนใจในกิจกรรม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอาจเริ่มสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนุกสนานหรือเพลิดเพลินมาก่อน เช่น ไม่อยากทำงานสวน หรือเลิกออกไปพบเพื่อน. - การเปลี่ยนแปลงในการรับประทาน
ผู้สูงอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงในนิสัยการรับประทานอาหาร หรือเบื่ออาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร - การนอนไม่พอหรือการนอนมาก
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าอาจประสบปัญหาในการหลับยาก ตื่นบ่อย หรือหลับมากเกินไป - การเปลี่ยนแปลงในการเข้าสังคม
เป็นลักษณะแยกตัวออกจากสังคม ผู้สูงอายุอาจจะรู้สึกว้าเหว่ เหมือนตัวคนเดียว ไม่มีใครเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว หรือ เพื่อน - การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
อาจมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ผู้สูงอายุมักมีร่างกายที่เสื่อมตามวัย หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้การดำเนินโรค และการพยากรณ์โรคทางกายแย่ลง เนื่องจากสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง เช่น ไม่ยอมไปพบแพทย์ รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ - มีความคิดอยากตายหรือพูดเรื่องความตาย
อาจมีการคิดวิธีการฆ่าตัวตาย วางแผนจัดการมรดก ทรัพย์สินให้ทายาท ถ้ามีอาการเตือนเช่นนี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในผู้สูงอายุ ควรให้ความใส่ใจและดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนให้มาพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
พญ.ณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH