ปัจจุบันหลายคนชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งหากดื่มมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบทั้งด้าน สุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง พูดไม่ชัด เดินเซ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาในด้านความสัมพันธ์ครอบครัว ทำให้ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองลดลง จนเกิดความเครียด กดดัน ทำให้บรรยากาศในบ้านไม่น่าอยู่และไม่เหมาะกับเด็ก ซึ่งบ้านไหนที่มีเด็ก และพบคนในครอบครัวดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม รวมไปถึงประสิทธิภาพการทำงานลดลง
2 ภาวะอันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะพิษจากแอลกอฮอล์
อาการพิษจากแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (blood-alcohol level) หากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูง อาจกดการหายใจ สำลักอาเจียน อุณหภูมิร่างกายลดลง หรือ หงุดหงิดก้าวร้าวได้
Memory blackouts หรือหลงลืมไปชั่วขณะ เกิดขึ้นได้หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก และถ้าเกิดอาการหลงลืมบ่อยๆ อาจทำให้อาการรุนแรงและเป็นยาวนานมากโดยอาจมีอาการยาวนานสูงถึงหนึ่งวัน
- ภาวะถอนแอลกอฮอล์
เกิดในคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีมีการลดปริมาณการดื่มหรือหยุดดื่มกระทันหัน อาการที่พบคือ ระดับการรู้ตัวลดลง เพ้อสับสน หลงลืม หูแว่ว/ภาพหลอน กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง นอนไม่หลับ มือสั่น เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาการเหล่านี้เป็นได้นาน 3-4 วัน โดยอาการจะแย่ลงช่วงเย็นหรือกลางคืน
จะเห็นได้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปส่งผลเสียต่อร่างกายและเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคต่าง ๆ และยังส่งผลกระทบด้านต่อการใช้ชีวิต ในด้านความสัมพันธ์ครอบครัว และประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากพบตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการติดแอลกอฮอล์ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาควบคู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดที่จะเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH