dTMS ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคซึมเศร้า

Share

โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ทำให้การรักษาโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยคืนคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา การทำจิตบำบัด และเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดคือ dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation เป็นการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองส่วนลึก เพื่อช่วยลดอาการซึมเศร้าโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนยาบางชนิด

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และโดปามีน (dopamine) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเศร้าหมอง เบื่อหน่าย หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า และอาจคิดฆ่าตัวตายได้ 

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม,การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และเหตุการณ์ในชีวิตที่เครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง การถูกล่วงละเมิด เป็นต้น

ปัจจุบันโรคซึมเศร้ามีการรักษาหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา, การทำจิตบำบัด และการรักษาด้วย dTMS หรือ Deep Transcranial Magnetic Stimulation คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ในการที่จะปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้ โดยการรักษาด้วย dTMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันมีการนำ dTMS มาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดเเละการกินยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรักษาให้ดีขึ้นอีกด้วย

dTMS เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นบริเวณสมองส่วนหน้าในแต่ละครั้งจะกระตุ้นผ่านหมวกอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ที่ศีรษะโดยจะกระตุ้น 2 วินาที และเว้นพักเป็นระยะเวลา 20 วินาที จึงกระตุ้นซ้ำต่อเนื่องไป 20-30 นาที ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นกับจำนวนครั้งสะสมของการกระตุ้น แต่มีข้อจำกัดในการกระตุ้นแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องกระตุ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 10-15 วัน หรือเว้นไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ก่อนรับการรักษาด้วย dTMS จิตแพทย์จะประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยทุกราย

จุดเด่นของ dTMS คือ 

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้ หากรู้ตัวเองเร็วแล้วรีบมารักษา ซึ่งการตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นเป็นส่งสำคัญมาก เบื้องต้นให้สังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างว่า มีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ หากมีอาการเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำให้ไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์โรงพยาบาลBMHH- Bangkok Mental Health Hospital

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 4, 2024
ครอบครัวบำบัด กุญแจสำคัญสู่ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ

7 วิธีรับมือความเครียด
ตุลาคม 2, 2024
7 วิธีรับมือความเครียด หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ

เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล

ตุลาคม 2, 2024
6 สิ่งที่ควรแสดงออกกับผู้ป่วยซึมเศร้า

การพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคำพูดที่เรามีเจตนาดีจะสื่อออกไป กลับไปทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความกดดัน

บทความเพิ่มเติม