โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ เช่น ในกลุ่มที่กินน้อยกว่าปกติอาจมีค่านิยมเกี่ยวกับรูปร่างที่ผอมบาง และมีการอดอาหารที่ผิดวิธี ขณะเดียวกันในกลุ่มที่กินเยอะกว่าปกติอาจมีพฤติกรรมที่กินเยอะจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จึงส่งผลให้บางคนเกิดความกังวลมาก กลายเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ โดยโรคนี้พบได้บ่อยแต่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
4 กลุ่มโรค พฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorder
- Anorexia nervosa เป็นกลุ่มที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมาก จนส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน ทำให้กินน้อยลง นำไปสู่น้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
- Bulimia nervosa เป็นกลุ่มที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมาก แต่ก็ควบคุมให้ตัวเองหยุดกินไม่ได้ จึงมีช่วงเวลาที่กินอาหารปริมาณมากแบบควบคุมไม่อยู่ หลังจากนั้นก็เกิดความรู้สึกผิด และพยายามชดเชยในสิ่งที่กินเข้าไป โดยการทำให้ตัวเองอาเจียน หรือ ออกกำลังกายมากจนเกินไป
- Binge eating disorders เป็นกลุ่มที่ควบคุมให้ตัวเองหยุดกินไม่ได้ จึงมีช่วงเวลาที่กินอาหารปริมาณมากแบบควบคุมไม่อยู่
- Other eating disorders คือ โรคทางการกินซึ่งอยู่นอกเหนือโรคที่พบบ่อยข้างต้น
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ ไม่ได้วิเคราะห์จากการกินมาก กินน้อย หรือ น้ำหนักตัว เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ลึกถึงความคิด ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการกิน, รูปร่าง, ระยะเวลาที่เป็น, และผลกระทบที่เกิดขึ้น หากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการที่มีลักษณะพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ควรรีบมาพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา หากได้รับการรักษาเร็วก็จะมีโอกาสหายขาดได้
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติไม่น่ากลัว หากรีบเข้ารับการรักษา
โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่สังเกตอาการของตัวเองหรือคนรอบข้างว่า มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่
เช็กลิสต์ ! กินไม่ยั้ง คุมไม่อยู่ เข้าข่าย Eating Disorder
หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ เช่น ไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่กินได้ หรือกินเท่าไหร่ก็อิ่ม บางทีหลังกินอาหารเสร็จแล้วมีอาการคลื่นไส้และวิ่งไปอาเจียน
นอนไม่หลับ นับแกะช่วยได้จริงหรือ?
อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาในการนอนหลับที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยทำงานขึ้นไป โดยอาจมีอาการหลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH