ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ปัญหาการสื่อสาร ความเครียดจากการทำงานหรือการเรียน ซึ่งย่อมส่งผลต่อความสัมพันธ์ของสมาชิกครอบครัวในเชิงจิตวิทยา ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เริ่มมีรอยร้าวสามารถช่วยให้กลับมาดีขึ้นได้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “ครอบครัวบำบัด” (Family Therapy)เป็นกระบวนการบำบัดที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยมีเป้าหมายหลัก คือการช่วยให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ปรับปรุงรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและพัฒนาของทุกคนในครอบครัว
การทำครอบครัวบำบัดสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภายในครอบครัว เช่น
- ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส ความขัดแย้งระหว่างพี่น้อง ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ลูก
- ปัญหาพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวของบุตรหลาน ปัญหาการเรียน การปรับตัวเข้ากับสังคม
- ปัญหาสุขภาพจิตของสมาชิกในบ้าน เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ภาวะเครียด
- การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในครอบครัว เช่น การหย่าร้าง การเสียชีวิต การย้ายบ้าน การมีสมาชิกใหม่ในครอบครัว
- ปัญหาการติดยาเสพติดหรือการดื่มสุรา
- ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร เช่น การเผชิญกับวัยรุ่น การเลี้ยงดูบุตรที่มีความต้องการพิเศษ
การทำครอบครัวบำบัดโดยนักจิตวิทยา เป็นทางออกที่ดีที่จะช่วยให้คนในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH