หยุดเล่นเกมส์ไม่ได้ รู้สึกแย่ที่ไม่ได้เล่น อาจเข้าข่าย “โรคติดเกมส์”

Share
โรคติดเกมส์

การเล่นเกมส์เป็นกิจกรรมที่นิยมกันมากขึ้น โดยในปัจจุบันไม่ได้มีมีแค่เด็กหรือวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีผู้ใหญ่บางคนที่ติดเกมส์เหมือนกัน จนส่งผลกระทบถึงสุขภาพ ครอบครัว การทำงาน เพราะใช้เวลาและเงินไปกับการเล่นเกมส์เป็นอย่างมาก

วัยผู้ใหญ่จะมีความเครียดมากกว่าเด็ก เช่น การงาน ความรับผิดชอบ ครอบครัว ทุกคนต้องการการผ่อนคลาย ผู้ใหญ่หลายคนจึงเลือกใช้เกมส์ในการลดความเครียดและใช้เวลาหลายชั่วโมงให้เกิดความบันเทิง เพื่อปัดความรับผิดชอบและความเครียดในชีวิตจริงออกไป สิ่งที่แตกต่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ในปัญหาติดเกมส์ คือ วัยผู้ใหญ่ไม่มีพ่อแม่คอยดูแลพฤติกรรม ไม่คิดหาทางแก้ไขปัญหาหรือมาพบแพทย์

เช็ก 9 สัญญาณการติดเกมส์

  1. คิดถึงเรื่องเกมส์ตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา
  2. รู้สึกแย่ถ้าไม่ได้เล่น
  3. ต้องใช้เวลาเล่นมากขึ้นเรื่อย ๆ
  4. ไม่สามารถหยุดเล่นหรือเล่นน้อยลงได้
  5. ไม่อยากจะทำกิจกรรมอื่นที่เคยชอบทำ
  6. มีปัญหาการทำงาน การเรียน ครอบครัว เนื่องจากการเล่นเกมส์
  7. เล่นเกมส์ต่อไปทั้งที่มีปัญหาแล้ว
  8. โกหกคนอื่นว่าตัวเองไม่ได้เล่นเกมส์
  9. ใช้การเล่นเกมส์เพื่อลดความเครียด

การที่ผู้ใหญ่ติดเกมส์มากเกินไปจะส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพ  คือนอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดคอ ตาแห้ง ปวดข้อมือ ลืมกินอาหาร  ไม่อาบน้ำ, ด้านครอบครัว คือไม่สนใจคนในครอบครัว เพื่อน ไม่รับผิดชอบงานบ้าน และไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา, ด้านการทำงาน คือมีเวลาพักผ่อนน้อย ไม่ยอมนอนเพราะเล่นเกมส์ จนส่งผลให้อ่อนเพลียในเวลาทำงาน ทำงานไม่เสร็จทันเวลา บางคนเล่นเกมส์ในเวลาทำงาน จนส่งผลให้ถูกลงโทษหรือถึงขั้นออกจากงาน

ทั้งนี้ หากพบว่าตัวเองมีอาการติดเกมส์ ควรมาพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด เพื่อปรึกษาและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละคน เช่น รักษาด้วยวิธีการทำความคิดพฤติกรรมบำบัด ซึ่งการที่ได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์จะช่วยทดแทนความสนใจจากเกมส์ไปสู่สิ่งอื่น และช่วยแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าการเล่นเกมส์

แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล
จิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม