ปัจจุบันทุกคนต้องเผชิญกับความวิตกกังวล ความเครียด จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การสอบ เป็นต้น ซึ่งความกลัวหรือความกังวลเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงของชีวิต โดยในคนปกติความเครียด วิตกกังวลจะหายไปเมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดลง แต่เมื่อไหร่ที่ความกังวลนั้นยากต่อการรับมือและเป็นมานานกว่า 6 เดือน อาจทำให้กลายเป็น “โรควิตกกังวลทั่วไป” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีระดับความกังวลที่มากกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง ในหลาย ๆ เรื่อง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้ไม่สามารถควบคุมหรือปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
อาการของโรควิตกกังวลทั่วไป ได้แก่
- มีความเครียดสะสม
- มีความกังวลหลายๆเรื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือน
- ตื่นตระหนก รู้สึกกลัว ไม่สบายใจ
- ควบคุมความคิดตัวเองไม่ได้
- ขาดความมั่นใจในตัวเอง
- นอนไม่หลับ
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว
- เวียนหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- เหงื่อออกเยอะ
สาเหตุของการเกิดโรควิตกกังวลทั่วไปนั้น มักประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยในด้านพันธุกรรม เช่น ถ้าพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล ลูกก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ในการเป็นโรควิตกกังวลเช่นกัน รวมถึงสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด การเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวล
การรักษาโรควิตกกังวลทั่วไป มีทั้งการรักษาด้วยยา และจิตบำบัด ซึ่งยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง และช่วยบรรเทาอาการลง และสามารถกลับมาใช้ชีวิต รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ส่วนการรักษาด้วยจิตบำบัดคือ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเรียนรู้เข้าใจในตัวโรค เข้าใจสาเหตุ อาการ และการจัดการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวลเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด
ทั้งนี้ เราสามารถลดความเสี่ยงของโรควิตกกังวลได้ โดยการหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด ซึ่งอาจกระตุ้นให้วิตกกังวลกว่าเดิมได้, หลีกเลี่ยงความเครียด พยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลายด้วยการฝึกลมหายใจ หรือทำกิจกรรม งานอดิเรกที่จะช่วยลดหรือเบี่ยงเบนจากความเครียด, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์พร้อมกับสังเกตความรู้สึกตัวเองอยู่เสมอ และถ้าหากรู้ตัวเองว่าเป็นผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวลต่อเรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย ควรเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา เพื่อปรับความคิดและการใช้ชีวิตประจำวัน
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH