อยู่กับข่าวร้ายอย่างไร ให้ใจไม่สลาย

Share

ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวสะเทือนใจ ข่าวภัยพิบัติ ข่าวอุบัติเหตุ หรือข่าวความรุนแรง มักสร้างอารมณ์ด้านลบให้กับเราเสมอ ซึ่งการเสพข่าวประเภทบ่อยๆ ซ้ำๆ ร้าย อาจส่งผลให้เกิด ความเครียดและวิตกกังวล สร้างความเศร้าหดหู่ บางคนอาจมีอาการนอนไม่หลับหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

วิธีฮีลใจในวันที่ข่าวร้าย

  1. ยอมรับความรู้สึก: อย่าพยายามปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง การยอมรับว่าเรากำลังรู้สึกเศร้าหรือกังวลเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นและสามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น
  2. หาที่ปล่อยอารมณ์: หาช่องทางในการปล่อยอารมณ์ เช่น การร้องไห้ การพูดคุยกับเพื่อนสนิท หรือการเขียนบันทึกความรู้สึก การปล่อยอารมณ์ออกมาจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น
  3. ทำกิจกรรมที่ชอบ: เช่น การฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือออกไปเดินเล่น จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย
  4. ออกกำลังกาย: ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นและมีพลังงานมากขึ้น
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนและฟื้นฟู
  6. ฝึกสติ: การฝึกสติจะช่วยให้เราสามารถควบคุมอารมณ์และความคิดของเราได้ดีขึ้น
  7. มองหาสิ่งดีๆ รอบตัว: เช่น ความรักจากครอบครัว เพื่อน หรือสัตว์เลี้ยง การมองหาสิ่งดีๆ จะช่วยให้เรามีความสุขและมีกำลังใจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้จิตใจบอบบางไปมากกว่าเดิม คือควรเลี่ยงการติดตามข่าวที่ทำให้เรารู้สึกเครียดและกังวล นอกจากนี้ การอยู่คนเดียวก็อาจทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวและซึมเศร้ามากขึ้น

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 6, 2024
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง

พฤศจิกายน 29, 2024
5 อาการ โรคหลายบุคลิก

บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ  ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม

พฤศจิกายน 29, 2024
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค” 

การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1

บทความเพิ่มเติม