เมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น พูดคำหยาบ ก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น พ่อแม่มักจะไม่รู้ตัวว่าเด็กไปเรียนรู้พฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Youtube Tiktok โดยบางครั้งการเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น เด็กก็อาจไม่รู้ความหมายในสิ่งที่กำลังพูดหรือกำลังทำอยู่
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์ Bangkok Mental Health Hospital (BMHH) กล่าวว่า พฤติกรรมการเลียนแบบสามารถอธิบายตามแนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาของบันดูราได้ว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการสังเกตจนเกิดการเลียนแบบ เพราะมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเด็กจะเห็นพ่อ แม่ เพื่อน หรือแม้กระทั่งบุคคลจากสื่อต่าง ๆ ทำพฤติกรรมเช่นใด เด็กจะซึมซับพฤติกรรมนั้นมา
6 กระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรม
- คนเรามักจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวเอง เพราะมองว่าเป็นเรื่องง่ายต่อการนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้กับตัวเอง เช่น อายุใกล้กัน เพศเดียวกัน มุมมองแนวคิดคล้ายกัน สนใจหรือให้คุณค่าในสิ่งที่คล้ายกัน
- เด็กสามารถมีต้นแบบได้หลายคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในชีวิตจริง เช่น ผู้ปกครอง ลูกพี่ลูกน้อง หรือเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นผ่านสื่อต่าง ๆ โดยบุคคลต้นแบบนั้นมีผลลัพธ์อะไรบางอย่างที่บุคคลผู้เลียนแบบอยากมี
- พฤติกรรมที่ได้รับคำชื่นชมหรือให้ผลในเชิงบวก มักเป็นพฤติกรรมที่ถูกนำมาเลียนแบบมากกว่า พฤติกรรมที่ให้ผลในเชิงลบ เช่น นักเรียนได้รับคำชื่นชมเมื่อกล้าถามคำถามคุณครู ทำให้เด็กคนอื่นในห้องเรียนมีพฤติกรรมถามคำถามมากขึ้น
- บุคคลมักเลียนแบบบุคคลที่มีสถานะสูงกว่า เช่น หัวหน้างาน บุคคลมีชื่อเสียง หรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จในด้านที่สนใจ
- บุคคลมักเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน เพราะพฤติกรรมของบุคคลต้นแบบมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมตัวเอง ทำให้ง่ายที่จะประสบความสำเร็จได้คล้ายกัน เช่น เด็กชอบว่ายน้ำ แล้วมีนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติเป็นต้นแบบ
- บุคคลรอบข้างมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น ถ้าเด็กเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิดแล้วได้รับคำชม หรือรางวัล เด็กจะจดจำและมีแนวโน้มจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำต่อไป เช่น เด็กหญิงเล่นตุ๊กตาแบบทะนุถนอมตามแบบพี่ แล้วผู้ปกครองพูดชมว่าเป็นเด็กอ่อนโยนเหมือนพี่ก็ได้รับคำชมก่อนหน้านี้ ทำให้เด็กอยากทำพฤติกรรมนั้นไปเรื่อย ๆ เรียกกระบวนเหล่านี้ว่าการเสริมแรงทางบวก (positive reinforcement) แต่ถ้าเด็กดื้อซนแล้วผู้ปกครองตักเตือนหรือทำโทษอย่างเหมาะสม จะทำให้พฤติกรรมดื้อซนลดลงได้
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเลียนแบบเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการของเด็กที่มีทั้งผลดีและผลลบ พ่อแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีพฤติกรรมที่เลียนแบบในเชิงบวก ก็สามารถสนับสนุนบุตรหลานต่อไปได้ในทางที่ถูกต้อง ส่วนเด็กที่เริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบไม่เหมาะสม พ่อแม่ควรเข้าไปพูดคุยอธิบายด้วยเหตุผล แต่ถ้าเข้าไปพูดคุยแล้ว เด็กยังมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
จิตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH