ต้องยอมรับว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม และความกดดันจากรอบข้าง ทำให้ทุกวันนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ที่มีอาการแต่ไม่ได้รับการตรวจโรคซึมเศร้าและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีด้วย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่ามีผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตมากถึง 10 ล้านคน แต่มีคนเข้ารับการตรวจรักษาเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น และในปี พ.ศ. 2566 มีเยาวชนที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 26
จากข้อมูลนี้ สะท้อนให้เห็นว่าโรคซึมเศร้า กำลังแทรกซึมเข้าสู่สังคมไทยอย่างช้า ๆ และคนส่วนใหญ่ก็มักมีอาการซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว หากปล่อยทิ้งไว้ คนกลุ่มนี้ก็จะยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวได้ หากมีคนใกล้ชิดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า และต้องการพาพวกเขาไปตรวจเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีที่โรงพยาบาลจิตเวชใกล้ฉัน นี่คือ 6 คำแนะนำที่คุณควรรู้ก่อนพาคนใกล้ตัวไปตรวจโรคซึมเศร้า
สัญญาณของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
เมื่อโรคซึมเศร้ากลายเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงและควรได้รับการตรวจโรคซึมเศร้าอย่างละเอียด ? คำตอบก็คือคุณสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยสามารถจำแนกสัญญาณเตือนของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าออกเป็น 4 ประการด้วยกัน ดังนี้
1. มีความคิดไปในด้านลบตลอดเวลา
สิ่งแรกที่จะสัมผัสได้จากผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าคือ พวกเขาจะมีความคิดในทางลบตลอดเวลา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ ทำอะไรก็ไม่ดี ไม่สำเร็จ สิ้นหวังในการมีชีวิตอยู่ และเอาแต่โทษตัวเองอยู่เสมอ จนทำให้อาการแย่ลงได้
2. อ่อนเพลีย ไม่มีพลัง ทำงานช้าลง
อีกหนึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรไปตรวจโรคซึมเศร้าคือ การไม่มีความสนใจในความสนุกหรืองานอดิเรกใด ๆ แม้จะเป็นกิจกรรมที่เคยชอบ รวมทั้งยังไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน กระสับกระส่าย สมาธิสั้น ทำอะไรช้าลง และการนอนมีปัญหาด้วย
3. หงุดหงิดและโมโหง่าย
โรคซึมเศร้าเป็นอาการทางด้านจิตใจ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิด โกรธ โมโหง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงเรื่องที่เคยปล่อยผ่านได้ ก็นำมาคิดและหงุดหงิดได้เช่นกัน ตลอดจนมีอาการอยู่ไม่สุข และกระวนกระวายตลอดเวลาด้วย
4. พฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคือ ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น เบื่ออาหารจนน้ำหนักลด กินมากผิดปกติแบบไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอนไม่หลับ เก็บตัวอยู่คนเดียว และอาจมีความคิดที่อยากทำร้ายตัวเองได้
6 คำแนะนำ เมื่อต้องพาคนใกล้ชิดไปตรวจโรคซึมเศร้า
หากพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และอยากอยู่เคียงข้างพวกเขาในช่วงเวลาที่ยากลำบาก โดยไม่ทำให้พวกเขารู้สึกแย่ไปมากกว่าเดิม นี่คือ 6 ข้อแนะนำที่ควรทำ เมื่อต้องพาคนใกล้ตัวไปตรวจโรคซึมเศร้า
1. สร้างความไว้ใจให้ผู้ป่วย
อันดับแรก หากอยากให้ผู้ป่วยรู้สึกวางใจในการไปพบจิตแพทย์ ต้องทำให้พวกเขาไว้ใจด้วยการบอกไปตามตรงว่าจะพาไปที่ไหน อย่าขู่ว่าน่ากลัว และอย่าหลอกลวงว่าจะพาไปที่อื่น เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความคิดในแง่ลบ
2. แสดงความเป็นห่วงอย่างจริงใจ
คำแนะนำข้อถัดมาคือ การแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณพยายามทำความเข้าใจและอยากช่วยเหลือให้มีอาการดีขึ้น อธิบายว่าการไปพบจิตแพทย์จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยอย่างไร และคุณพร้อมจะอยู่เคียงข้างไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
3. หลีกเลี่ยงการสื่อสารในเชิงลบ
เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติ แต่ระลึกไว้เสมอว่าพวกเขาคือคนป่วย อย่าสื่อสารในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นการตำหนิ ด่าทอ หรือการโต้เถียง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสภาพจิตใจแย่ลงได้
4. ชี้ให้เห็นข้อดีของการไปพบจิตแพทย์
บางครั้งผู้ป่วยอาจหมกมุ่นอยู่กับความคิดของตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของคนใกล้ชิดที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าการไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจโรคซึมเศร้า รวมทั้งรักษาภาวะที่เป็นอยู่อย่างถูกวิธีจะส่งผลดีอย่างไร เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขายอมไปพบจิตแพทย์ได้ง่ายขึ้น
5. อยู่เคียงข้างพวกเขาในทุกช่วงเวลา
เพราะการรักษาปัญหาด้านจิตใจต้องใช้เวลาและความพยายาม นอกจากจะเป็นคนพาไปตรวจโรคซึมเศร้าแล้ว คุณควรอยู่เคียงข้างเขาตลอดการรักษา ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน ทำให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้โดดเดี่ยวอย่างที่คิด
6. เลือกเวลาการชักชวนให้เหมาะสม
สุดท้าย เป็นเรื่องเวลาในการชักชวนไปพบจิตแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจจนเกินไป ควรเลือกพูดถึงตอนที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีเท่านั้น และไม่เอ่ยชวนต่อหน้าผู้อื่น เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายและมีอาการแย่ลง
หากสงสัยว่าคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป สุ่มเสี่ยงมีอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แล้วกำลังมองหาโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อพาคนใกล้ชิดไปตรวจโรคซึมเศร้าและวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี เลือกโรงพยาบาล BMHH – Bankok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี พร้อมอยู่เคียงข้างผู้ป่วยในทุกสถานการณ์ มุ่งมั่นแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างดีที่สุด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพมากประสบการณ์ ดูแลอย่างใส่ใจ พร้อมเคียงข้างให้ก้าวข้ามช่วงเวลาแห่งความไม่สุขสบายได้อย่างง่ายดาย
แพทย์หญิงณัฏฐพัชร์ ลำเลียงพล จิตแพทย์
โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH